Archive | มิถุนายน, 2012

พระราชประวัติ ร.5

30 มิ.ย.
พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)  
 

ฟรี… วอลเปเปอร์ภาพรัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร

พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า [2]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร” ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [3] โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า

” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว” [2]

เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า

” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราช รวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา

พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด 92 พระองค์ โดย 36 พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก 56 พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ

การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส

ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410

ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ

ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก

ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย

ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม

   ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447)

   ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447
   วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด

รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร

และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450

การเสียดินแดนให้อังกฤษ

เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 ( นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี

พระราชปณิธาน

พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง

ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา
พระราชนิพนธ์

ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง

1 ไกลบ้าน

2 เงาะป่า

3 นิทราชาคริต

4 อาบูหะซัน

5 พระราชพิธีสิบสองเดือน

6 กาพย์เห่เรือ

7 คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา

8 ตำรากับข้าวฝรั่ง

9 พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี

10 โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร

ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

ครองราชย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410

ระยะครองราชย์ 42 ปี

รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ข้อมูลส่วนพระองค์

พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2396

วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู

สวรรคต 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชมารดา สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์

พระมเหสี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระราชโอรส/ธิดา 77 พระองค์
  
(ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี )

พระราชประวัติรัชกาลที่ ๓

30 มิ.ย.

 

                              
พระมหากษัตริย์ไทย

 

             
 

พระราชประวัติ 
         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ แห่งราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ”

         พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน

         ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ๕ พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา

         พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว”

         ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม “ทับ” ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้พระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
การเจริญสัญญาทางพระราชไมตรีเป็นฉบับแรกกับประเทศอังกฤษ
การค้าขายกับต่างประเทศและการเก็บอากรต่างๆ
การเผาโรงฝิ่น และมีการออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
เกิดสุริยุปราคาถึง ๕ ครั้ง
เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ฯลฯ

พ.ศ. ๒๓๖๗ โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
พ.ศ. ๒๓๖๘ เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
พ.ศ. ๒๓๗๐ เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
พ.ศ. ๒๓๗๑ ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
พ.ศ. ๒๓๗๒ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
พ.ศ. ๒๓๗๕ ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนเกิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
พ.ศ. ๒๓๘๐ หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
พ.ศ. ๒๓๘๑ เกิดกบฏหวันหมาดหลี
พ.ศ. ๒๓๘๒ ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๓๘๙ ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม
พ.ศ. ๒๓๙๐ ทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วง เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ครองกรุงกัมพูชา
พ.ศ. ๒๓๙๑ ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๓๙๓ อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
พ.ศ. ๒๓๙๔ เสด็จสวรรคต

พระราชประวัติ รัชกาลที่1

30 มิ.ย.
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ครองราชย์ 27 พรรษา พระชนมายุ 74 พรรษา

องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับ วันพุธแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นพระยาราชนรินทรในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้างพระบรม มหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เสร็จในปี พ.ศ. 2327
ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนา ได้โปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย
พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวางและปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมืองทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

30 มิ.ย.

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเชิงท่า อยุธยา     สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น

ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่าง ประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ

ครั้นนายสินอายุได้ 21 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนัก อาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส ( ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า )

นายสินอุปสมบทอยู่ 3 พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่าง ๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน ด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน


พ.ศ. 2308 พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม

 

พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็น อันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมือง ใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี

เจ้า ตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดเชิงท่า อยุธยา


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี
 
พระราชกรณียกิจ
 
ด้านการปกครอง ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนัน ให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิขาด และยังห้ามนายตรา นายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุม ผูกมัด จำจอง เร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรเกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวง ก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าตามรายทาง โดยไม่ต้องมีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้
ใน ชั้นศาล ก็ไม่โปรดให้อรรถคดีคั่งค้าง แม้ยามศึก หากคู่ความไม่ได้เข้ากองทัพหรือประจำราชการต่างเมือง ก็โปรดให้ดำเนินการพิจารณาคดีไปตามปกติ ทั้งในการฟ้องร้อง ยังโปรดให้โจทย์หาหมอความแต่งฟ้องได้เช่นเดียวกับปัจจุบันอีกด้วย วิธีพิจารณาคดีในสมัยนั้นสะท้อนให้เห็นได้แจ่มชัด ในบทละครรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
ด้านการทหาร ทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า 5 ก๊ก และปราบปรามก๊กต่าง ๆ ทำสงครามกับพม่า ขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และกัมพูชา

ด้านเศรษฐกิจ เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรืองทั้งของหลวงและของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวงช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก
สมเด็จ พระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งยังฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

ด้านการคมนาคม ใน ยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้นในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม ก็จะโปรดให้ตัดถนน และขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่า ๆ ในเขตธนบุรี ซึ่งมีอยู่มากสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขามจากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น

ด้านศิลปกรรม ใน สมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธี บำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะ เรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ

    สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ 4 เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ 4 ตอน คือ

  •     เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
  •     เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
  •     เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
  •     เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ


การที่พระมหากษัตริย์ทรงใฝ่พระทัยในกวีนิพนธ์ถึงกับพระราชนิพนธ์ทั้ง ๆ ที่แทบจะมิได้ว่างเว้นจากราชการทัพเช่นนี้ เท่ากับเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสามารถทางกวีนิพนธ์ในยุคนั้นสร้าง สรรค์งานขึ้นมาได้บ้าง แม้เหตุการณ์ของบ้านเมืองจะยังมิได้คืนสู่สภาพปกติสุขดีนัก และสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์กวีในราชสำนักเป็นอย่างดี
ด้านการช่าง โปรดให้รวบรวมช่างฝีมือ และให้ฝึกงานช่างทุกแผนกเท่าที่มีครูสอน เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ ช่างเขียน เป็นต้น สำหรับงานช่างต่อเรือได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นยุคที่มีการต่อเรือรบ และเรือสำเภาค้าขายเป็นจำนวนมากมาย ช่างสมัยกรุงธนบุรีนี้อาจจะไม่มีเวลาทันสร้างผลงานดีเด่นเฉพาะสมัย แต่ก็ได้เป็นผู้สืบทอดศิลปกรรมแบบอยุธยาไปสู่แบบรัตนโกสินทร์
ด้านการศึกษา ในสมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงโปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้นเช่นเดียวกันกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำรับตำราที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตก ก็โปรดให้สืบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ๆ ไป และที่แต่งใหม่ก็มี

ด้านการศาสนา โปรด ให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังตั้งแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลายและกวาดต้อนทรัพย์สิน ไปพม่า แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าจำวัดต่าง ๆ ส่วนพระไตรปิฎกยังเหลือตกค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวง แล้วส่งคืนกลับไปที่เดิม
เรื่องสังฆมณฑล โปรดให้ดำเนินตามธรรมเนียมการปกครองคณะสงฆ์ที่มีมาแต่ก่อน โดยแยกเป็นฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ฝ่ายคันถธุระดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญ ส่งเสริมการสอนภาษาบาลี เพื่อช่วยการอ่านพระไตรปิฎก
ฝ่ายวิปัสนาธุระ โปรดให้กวดขันการปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นขั้น ๆ ไปตามภูมิปฏิบัติ
ส่วน ลัทธิอื่น ๆ ในชั้นต้นสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ต่อมาข้าหลวงที่เข้ารีต ได้พยายามห้ามปรามชาวไทยปฏิบัติพิธีการทางศาสนา เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ความขัดแย้งมีมากขึ้นเรื่อย ถึงกับจับพวกบาทหลวงกุมขังก็มี ในที่สุดพระองค์จำต้องขอให้บาทหลวงไปจากพระราชอาณาเขต แล้วห้ามชาวไทยนับถือศาสนาคริสต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2322

ด้านการศึกสงคราม ขณะ ที่พระยาตากได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่ก็ยังมิได้ไปครองเมืองกำแพงเพชร เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกในการป้องกันพระนคร

เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) เล็งเห็นว่าถึงแม้จะอยู่ช่วยรักษาพระนครต่อไป ก็คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด พม่าก็ตั้งล้อมพระนครกระชั้นเข้ามาทุกขณะจนถึงคูพระนครแล้ว กรุงศรีอยุธยาคงไม่พ้นเงื้อมมือพม่าเป็นแน่แท้ ไพร่ฟ้าข้าทหารในพระนครก็อิดโรยลงมาก เนื่องจากขัดสนเสบียงอาหาร ทหารไม่มีกำลังใจจะสู้รบ ดังนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยอาสา พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี และพรรคพวก รวม 500 คน ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าพม่าไปทางทิศตะวันออก เวลาค่ำในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2309 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309
ทัพ พม่าได้ส่งทหารไล่ติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) และพรรคพวกมาทันกันในวันรุ่งขึ้นที่ บ้านโพธิ์สังหาร พระยาวชิรปราการ (สิน) ได้นำพลทหารไทยจีนเข้ารบกับทหารพม่าเป็นสามารถจนทหารพม่าแตกพ่ายไป และยังได้ยึดเครื่องศาสตราวุธอีกเป็นจำนวนมาก แล้วออกเดินทางไปตั้งพักที่บ้านพรานนก เพื่อหาเสบียงอาหาร ระหว่างที่ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) หาเสบียงอาหารอยู่นั้น ได้พบทัพพม่าจำนวนพลขี่ม้าประมาณ 30 ม้า พลเดินเท้าประมาณ 2,000 คน ยกทัพมาจากบางคาง แขวงเมืองปราจีนบุรี เพื่อเข้ารวมพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยาในโอกาสต่อไป ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) จึงหนีกลับมาที่บ้านพรานนก โดยมีทหารพม่าไล่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิดและชะล่าใจ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงให้ทหารซึ่งเป็นพลเดินเท้าแยกออกเป็นปีกกาเข้าตีโอบพวกพม่าทั้งสองข้าง ส่วนพระยาวชิรปราการ (สิน) กับทหารอีก 4 คน ก็ขี่ม้าตรงเข้าไล่ฟันทหารม้าพม่าซึ่งนำทัพมาอย่างไม่ทันรู้ตัวก็แตกร่นไป ถึงพลเดินเท้า พวกทหารพระยาวชิรปราการได้ทีเข้ารุกไล่ฆ่าฟันทหารพม่าจนแตกพ่ายไป การชนะในครั้งนี้ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ทหารพระยาวชิรปราการ (สิน) เป็นอย่างมากในโอกาสสู้รบกับพม่าในโอกาสต่อไป

พวกราษฏรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ได้ทราบกิตติศัพท์การรบชนะของพระยาวชิรปราการ (สิน) ต่อทหารพม่าต่างก็มาขอเข้าเป็นพวก และได้เป็นกำลังสำคัญในการเกลี้ยกล่อมผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้า นายซ่องต่าง ๆ มาอ่อนน้อมขุนชำนาญไพรสนฑ์ และนายกองช้างเมืองนครนายก มีจิตสวามิภักดิ์ได้นำเสบียงอาหารและช้างม้ามาให้เป็นกำลังเพิ่มขึ้น ส่วนนายซ่องใหญ่ซึ่งมีค่ายคูยังทะนงตนไม่ยอมอ่อนน้อม พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็คุมทหารไปปราบจนได้ชัยชนะแล้วจึงยกทัพผ่านเมืองนครนายกข้ามลำน้ำเมือง ปราจีนบุรีไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ข้างฟากตะวันตก

ทหารพม่าเมื่อแตกพ่ายไปจากบ้านพรานนกแล้วก็กลับไปรายงานนายทัพที่ตั้งค่าย ณ ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายที่รวบรวมกำลังกันทั้งทัพบกทัพเรือไปรอดัก พระยาวชิรปราการ (สิน) อยู่ ณ ที่นั้น และตามทัพพระยาวชิรปราการ (สิน) ทันกันที่ชายทุ่ง พระยาวชิรปราการ (สิน) เห็นว่าจะต่อสู้กับข้าศึก ซึ่ง ๆ หน้าไม่ได้ อีกทั้งมีกำลังน้อยกว่ายากที่จะเอาชัยชนะแก่พม่าได้ จึงเลือกเอาชัยภูมิพงแขมเป็นกำบังแทนแนวค่าย และแอบตั้งปืนใหญ่น้อยรายไว้หมายเฉพาะทางที่จะล่อพม่าเดินเข้ามา แล้วพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็นำทหารประมาณ 100 คนเศษ คอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง ครั้นเมื่อรบกันสักพักหนึ่งก็แกล้งทำเป็นถอยหนีไปทางช่องพงแขมที่ตั้งปืน ใหญ่เตรียมไว้ ทหารพม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไปก็ถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามา ทางด้านหน้า ขวา และซ้าย จนทหารพม่าไม่มีทางจะต่อสู้ได้ต่อไปทำให้ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่รอดตายต่างถอยหนีอย่างไม่เป็นกระบวนก็ถูกพระยาวชิรปราการ (สิน) นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันล้มตายอีก นับตั้งแต่นั้นมาทหารพม่าก็ไม่กล้าจะติดตามพระยาวชิรปราการ (สิน) อีกต่อไป

เมื่อพระยาวชิรปราการ (สิน) ได้ชัยชนะพม่าแล้วได้ยกทัพผ่านบ้านทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ เขตเมืองชลบุรี ต่างก็มีผู้คนเข้าร่วมสมทบมากขึ้นจนมีรี้พลเป็นกองทัพ จากนั้นพระยาวชิรปราการ (สิน) ก็เดินทางไปเมืองระยอง โดยหมายจะเอาเมืองระยองเป็นที่ตั้งมั่นต่อไป ครั้นถึงเมืองระยอง พระยาระยองชื่อบุญ เห็นกำลังพลของพระยาวชิรปราการมีจำนวนมากมายที่จะต้านทานได้จึงพากันออกมา ต้อนรับ พระยาวชิรปราการ (สิน) จึงตั้งค่ายที่ชานเมืองระยอง ขณะนั้นมีพวกกรมการเมืองระยองหลายคนแข็งข้อคิดจะสู้รบ จึงได้ยกกำลังเข้าปล้นค่ายในคืนวันที่สองที่หยุดพัก แต่พระยาวชิรปราการ (สิน) รู้ตัวก่อน จึงได้ดับไฟในค่ายเสียและมิให้โห่ร้องหรือยิงปืนตอบ รอจนพวกกรมการเมืองเข้ามาได้ระยะทางปืน พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็สั่งยิงปืนไปยังพวกที่จะแหกค่ายด้านวัดเนิน พวกที่ตามหลังมาต่างก็ตกใจและถอยหนี พระยาวชิรปราการ (สิน) คุมทหารติดตามไปเผาค่ายและยึดเมืองระยองได้ในคืนนั้น

การที่พระยาวชิรปราการ (สิน) เข้าตีเมืองระยองได้และกรุงศรีอยุธยายังมิได้เสียทีแก่พม่าแต่ประการใด จึงถือเสมือนเป็นผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้น พระยาวชิรปราการ (สิน) ก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ และให้เรียกคำสั่งว่า พระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอก พวกบริวารจึงเรียกว่า เจ้าตาก ตั้งแต่นั้นมา

เมื่อเจ้าตากตั้งตัวเป็นอิสระที่เมืองระยอง ส่วนเมืองอื่น ๆ ทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออกนับตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ต่างก็ยังเป็นอิสระ เจ้าตากจึงมีความคิดที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เป็นพวกเดียวกันเพื่อช่วยกันปราบปรามพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา และเล็งเห็นว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติมีกำลังคนและอาหารบริบูรณ์ ชัยภูมิก็เหมาะที่จะใช้เป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียงทั้งหลาย จึงแต่งทูตให้ถือศุภอักษรไปชักชวนพระยาจันทบุรีช่วยกันปราบปรามข้าศึก ในครั้งแรกได้ตอบรับทูตโดยดีและรับว่าจะมาปรึกษาหารือกับเจ้าตากเกรงจะถูก ชิงเมืองจึงไม่ยอมไปพบ

ครั้นถึงเดือน 5 ปีกุน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 แล้ว ก็มีคนไทยที่มีสมัครพรรคพวกมากต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่พระยาจันทบุรียังไม่ยอม เป็นไมตรีกับเจ้าตาก ส่วนขุนรามหมื่นซ่อง กรมการเมืองระยองผู้หนึ่งที่เคยปล้นค่ายเจ้าตากก็ไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่ เมืองแกลง ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับเมืองจันทบุรีและคอยปล้นชิงช้างม้าพาหนะของเจ้าตาก เจ้าตากจึงยกกำลังไปปราบ ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้หนีไปอยู่กับพระยาจันทบุรี ครั้นเจ้าตากจะยกพลติดตามไปก็พอดีได้ข่าวว่าทางเมืองชลบุรี นายทองอยู่นกเล็กตั้งตัวเป็นใหญ่ ผู้ใดจะเข้ากับเจ้าตาก นายทองอยู่นกเล็กก็จะยึดเอาไว้เสีย เจ้าตากจึงรีบยกทัพไปเมืองชลบุรีแล้วส่งเพื่อนฝูงของนายทองอยู่นกเล็กเกลี้ย กล่อม นายทองอยู่นกเล็กเห็นจะสู้รบไม่ไหวจึงยอมอ่อนน้อม เจ้าตากจึงตั้งนายทองอยู่นกเล็กเป็นพระยาอนุราฐบุรี ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี แล้วก็เลิกทัพกลับ

ฝ่ายพระยาจันทบุรีได้ปรึกษากับขุนรามหมื่นซ่องเห็นว่าจะรบพุ่งเอาชนะเจ้าตากซึ่ง หน้าคงจะชนะยาก ด้วยเจ้าตากมีฝีมือเข้มแข็งทั้งรี้พลก็ชำนาญศึก จึงคิดกลอุบายจะโจมตีกองทัพเจ้าตากขณะกำลังข้ามน้ำเข้าเมืองจันทบุรี โดยนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป เป็นทูตมาเชิญเจ้าตากไปตั้งที่เมืองจันทบุรี แต่ในระหว่างเจ้าตากเดินทางจะข้ามน้ำเข้าเมืองจันทบุรีอยู่นั้นได้มีผู้ มาบอกให้เจ้าตากทราบกลอุบายนี้เสียก่อน เจ้าตากจึงให้เลี้ยวกระบวนทัพไปตั้งที่ชายเมืองด้านเหนือบริเวณวัดแก้ว ห่างประตูท่าช้างเมืองจันทบุรีประมาณ 5 เส้น แล้วเชิญพระยาจันทบุรีออกมาหาเจ้าตากก่อนที่จะเข้าเมือง แต่พระยาจันทบุรีไม่ยอมออกมาต้อนรับพร้อมกับระดมคนประจำรักษาหน้าที่ เชิงเทิน
เจ้า ตากได้ทบทวนถึงสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าแม้ข้าศึกจะครั่นคร้ามฝีมือไม่กล้าโจมตีซึ่งหน้าก็ตาม แต่ฝ่ายพระยาจันทบุรีมีจำนวนมากกว่า ถ้าเจ้าตากล่าถอยไปเมื่อใด ทัพจันทบุรีก็จะล้อมไล่ตีได้หลายทาง เพราะไม่มีเสบียงอาหาร เจ้าตากจึงตัดสินใจจะต้องเข้าตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ให้ได้ และแสดงออกถึงน้ำใจอันเด็ดเดี่ยวโดยสั่งนายทัพนายกองว่า

พระรูปบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเชิงท่า อยุธยา “เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำ วันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและ ต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”

ครั้นได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากพร้อมด้วยทหารไทยจีนเข้าโจมตีเมืองจันทบุรีอย่างเข้มแข็งและเด็ด เดี่ยวโดยเจ้าตากขี่ช้างพังคีรีบัญชรเข้าพังประตูเมืองได้สำเร็จ พวกทหารก็กรูกันเข้าเมืองได้ ชาวเมืองต่างก็เสียขวัญละทิ้งหน้าที่แตกหนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีพาครอบครัวลงเรือหนีไปเมืองบันทายมาศ

เมื่อเจ้าตากจัดเมืองจันทบุรีเรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพบกทัพเรือลงไปเมืองตราด พวกกรมการเมืองและราษฎรต่างยอมอ่อนน้อมโดยดี แต่ยังมีพ่อค้าในสำเภาที่จอดอยู่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำไม่ยอมอ่อนน้อม เจ้าตากได้ยกทัพเรือโจมตีสำเภาจีนได้ทั้งหมดในครึ่งวัน และสามารถยึดทรัพย์สิ่งของได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาจัดเตรียมกองทัพเข้ากู้เอกราช

เจ้าตากได้จัดการเมืองตราดเรียบร้อยก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝนพอดี จึงยกกองทัพกลับเมืองจันทบุรี เพื่อตระเตรียมกำลังคน สะสมเสบียงอาหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และต่อเรือรบได้ถึง 100 ลำ รวบรวมกำลังคนเพิ่มได้อีกเป็นคนไทยจีน ประมาณ 5,000 คนเศษ กับมีข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาได้หลบหนีพม่ามาร่วมด้วยอีกหลายคน และที่สำคัญก็คือ หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก นายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก

พอถึงเดือน 11 พ.ศ.2310 หลังสิ้นฤดูมรสุมแล้ว เจ้าตากก็ยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเพื่อมากอบกู้เอกราช ระหว่างทางได้หยุดชำระความพระยาอนุราฐบุรีที่เมืองชลบุรี ซึ่งประพฤติตัวเยี่ยงโจรเข้าตีปล้นเรือลูกค้า ชำระได้ความเป็นสัตย์จริง จึงให้ประหารชีวิตพระยาอนุราฐบุรีเสีย แล้วยกทัพเรือเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12

กองทัพเรือภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าตากได้เข้าโจมตีเมืองธนบุรีเป็นครั้งแรก มีนายทองอินคนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองอยู่ พอนายทองอินทราบข่าวว่าเจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ก็ให้คนรีบขึ้นไปบอกข่าวแก่สุกี้พระนายกองแม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น แล้วเรียกระดมพลขึ้นรักษาป้อมวิชเยนทร์ และหน้าแท่นเชิงเทิน

ครั้นกองทัพเรือเจ้าตากเดินทางมาถึง รี้พลที่รักษาเมืองธนบุรี กลับไม่มีใจสู้รบเพราะเห็นเป็นคนไทยด้วยกันเอง ดังนั้นกองทัพเรือของเจ้าตากเข้ารบพุ่งเพียงเล็กน้อยก็สามารถตีเมืองธนบุรี ได้ เจ้าตากให้ประหารชีวิตนายทองอินเสียแล้วเร่งยกกองทัพเรือไปตีกรุงศรีอยุธยา

สุกี้แม่ทัพพม่าได้ข่าวเจ้าตากตีเมืองธนบุรีได้แล้ว ก็ส่งมองญ่านายทัพรองคุมพลซึ่งเป็นมอญและไทยยกกองทัพเรือไปสกัดกองทัพเรือ เจ้าตากอยู่ที่เพนียด เจ้าตากยกกองทัพเรือขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาค่ำสืบทราบว่ามีกองทัพ ข้าศึกยกมาตั้งรับคอยอยู่ที่เพนียดไม่ทราบว่ามีกำลังเท่าใด ฝ่ายพวกคนไทยที่ถูกเกณฑ์มาในกองทัพมองญ่ารู้ว่ากองทัพเรือที่ยกมานั้นเป็นคน ไทยด้วยกัน ก็คิดจะหลบหนีบ้าง จะหาโอกาสเข้าร่วมกับเจ้าตากบ้างมองญ่าเห็นพวกคนไทยไม่เป็นอันจะต่อสู้เกรง ว่าจะพากันกบฏขึ้น จึงรีบหนีกลับไปค่ายโพธิ์สามต้นในคืนนั้น

เจ้าตากทราบจากพวกคนไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วยว่า พม่าถอยหนีจากเพนียดหมดแล้ว ก็รีบยกกองทัพขึ้นไป ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น 2 ค่าย พร้อมกันในตอนเช้า สู้รบกันจนเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ สุกี้ตายในที่รบ จึงถือว่า เจ้าตากได้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาได้แล้ว หลังจากที่ไทยต้องสูญเสียเอกราชในครั้งนี้เพียง 7 เดือน

ภายหลังที่พระเจ้าตากมีชัยชนะกับพม่าแล้ว ทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาติบ้านเมืองเพิ่งเป็นอิสระจากพม่า จิตใจของประชาราษฎรยังระส่ำระสาย ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกเผาผลาญทำลายปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเศร้าโศกสะเทือนใจจนยากที่จะหาสิ่งใดมาลบล้างความ รู้สึกสลดหดหู่นั้นได้ บ้านเมืองยังต้องการความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติจะต้องเรียกขวัญและ กำลังใจของประชาชนให้กลับคืน อยู่ในสภาพปกติโดยเร็วที่สุด ไหนจะต้องป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศที่คอยหาโอกาสจะเข้ารุกราน จึงต้องรวบรวมคนไทยที่แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าถึง 5 ก๊ก คือ

  •     ก๊กที่ 1 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าที่เมืองพิษณุโลก
  •     ก๊กที่ 2 เจ้าพระฝาง (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ยังเป็นพระ
  •     ก๊กที่ 3 เจ้านคร (หนู) เดิมเป็นปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช
  •     ก๊กที่ 4 กรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย
  •     ก๊กที่ 5 คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี
พระรูปบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเชิงท่า อยุธยา

ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องทรงกระทำโดย เร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น 2 ด้านคือ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
 
การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
 
ทรงกระทำตลอดรัชกาลของพระองค์ นับตั้งแต่การปราบปรามชาวไทยที่แบ่งเป็นก๊กต่าง ๆ การปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง ตลอดจนการทำสงครามกับพม่าทำให้พม่าลบคำดูหมิ่นไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวไทยที่ยังไม่หายครั่นคร้ามพม่าได้มีกำลัง ใจดีขึ้น ดังนี้

1. การปราบปรามก๊กต่าง ๆ

  • พ.ศ.2311 ยกกองทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ แล้วสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธด้วยท่อนจันทน์ ตามประเพณี
  • พ.ศ.2312 ยกทัพบกและทัพเรือไปปราบเจ้านครศรีธรรมราชได้สำเร็จ เมืองตานี และไทรบุรี ขอยอมเข้ารวมเป็นขัณฑสีมาด้วยกัน
  • พ.ศ.2313 ยกกองทัพไปตีเมืองสวางคบุรี ขณะที่เจ้าพระฝางตีได้เมืองพิษณุโลกแล้วจึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระฝางฝ่าแนวล้อมหนีรอดไปได้

2. การทำสงครามกับพม่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำศึกกับพม่า ถึง 9 ครั้ง แต่ละครั้งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ทางด้านยุทธศาสตร์อย่างดี เยี่ยม พร้อมด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวฉับไว การทำสงครามกับพม่าดังกล่าว ได้แก่

  • สงครามครั้งที่ 1 รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ.2310
  • สงครามครั้งที่ 2 พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ.2313
  • สงครามครั้งที่ 3 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ.2313 – 2314
  • สงครามครั้งที่ 4 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ.2315
  • สงครามครั้งที่ 5 พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ.2316
  • สงครามครั้งที่ 6 ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317
  • สงครามครั้งที่ 7 รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ.2317
  • สงครามครั้งที่ 8 อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318
  • สงครามครั้งที่ 9 พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319

สำหรับสงครามรบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. 2317 เป็นสงครามที่ทำให้พม่าครั่นคร้าม และเข็ดหลาบไม่กล้ามารุกรานไทยอีกต่อไป

3. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์
พ.ศ.2321 พระเจ้านครหลวงพระบางขอสวามิภักดิ์เข้ารวมในพระราชอาณาจักร ส่วนนครเวียงจันทน์ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่ พ.ศ.2317 ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเดินทัพเข้ามาในพระราชอาณาเขต เพื่อกำจัดพระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจึงโปรดให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้ เมื่อ พ.ศ.2322 โปรดให้พระยาสุโภอยู่รักษาเมือง เมื่อเสร็จสงคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรีด้วย

4. การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา

พ.ศ.2312 ทรงโปรดให้ยกกองทัพไปตีกรุงกัมพูชา เนื่องจากเจ้าเมืองกัมพูชาไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ และพระตะบอง

พ.ศ. 2314 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปตีกัมพูชาได้สำเร็จ สาเหตุจากขณะไทยทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์กรุงกัมพูชาได้ถือโอกาสมาตีเมืองตราด และเมือง จันทบุรี เมื่อตีกัมพูชาได้แล้วทรงมอบให้นักองค์นนท์ปกครองต่อไป

พ.ศ.2323 กัมพูชาเกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติกันเอง จึงเหลือนักองค์เอง ที่มีพระชนม์เพียง 4 พรรษา ปกครองโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) ว่าราชการแทน และเอาใจออกห่างฝักใฝ่ญวน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบปราม และมีพระราชโองการให้อภิเษกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสองค์ ใหญ่ขึ้นครองกัมพูชา ทัพไทยตีเมืองรายทางได้จนถึงเมืองบัณฑายเพชร พอดีกับกรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเลิกทัพกลับ

อาณาเขตกรุงธนบุรีได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้

  • ทิศเหนือ   ตลอดอาณาจักรลานนา
  • ทิศใต้     ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
  • ทิศตะวันออก     ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ     ตลอดนครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก
  • ทิศตะวันออกเฉียงใต้     ตลอดเมืองพุทธไธมาศ
  • ทิศตะวันตก     ตลอดเมืองมะริด และตะนาวศรีออกมหาสมุทรอินเดีย
พระรูปบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเชิงท่า อยุธยา
ประชาชนร่วมกันปิดทองถวายสักการะพระรูปบูชาพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเชิงท่า อยุธยา พระ เจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524
30 มิ.ย.

พระราชประวัติพระนารายณ์มหาราช

 
 
 
  

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระนามเดิม : พระรายณ์ราชกุมาร
พระนามพระบรมราชชนกนาถ : พระเจ้าปราสาททอง
พระนามพระบรมราชชนนี : ไม่ปรากฏแน่ชัด
วันพระราชสมภพ : พ.ศ. 2175
สถานที่พระราชสมภพ : กรุงศรีอยุธยา
บทบาทและพระราชกรณียกิจที่สำคัญ : ทรงเป็นยอดนักปราชญ์-นักปกครอง-นักรบ-เจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติอย่างกว้างขวาง

พระประวัติ

สมเด็จพระทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2175 ขณะที่ทรงประสูตินั้น พระญาติเห็นเหมือนเป็นพระกร 4 กร แล้วกลับเหลืออยู่ 2 กรตามปรกตินับเป็นที่อัศจรรย์ จึงทรงพระราชทานนามแต่บัดนั้นว่า “นารายณ์ราชกุมาร” หรือราชกุมาร 4 กรนั่นเอง

สมเด็จพระนารายณ์มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาเดียวกัน นามว่า พระราชกัลยาณี มีพระราชอนุชานามว่า เจ้าฟ้าอภัยทศ พระอัยกาของสมเด็จพระนารายณ์ก็คือ สามเด็จพระเอกาทศรถ ขณะมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา เสด็จออกไปเล่นที่เกย ขณะนั้นฝนกำลังตก พระนมพี่เลี้ยงห้ามไม่ฟัง ให้กรดกางก็ห้ามเสีย ขณะยืนอยู่ที่เสาหลักชัย ฟ้าฝ่าลงมาต้องหลักชัยแตก แต่พระนารายณ์กุมารมิได้เป็นอันตราย

พระขนิษฐาพระราชกัลยาณี ต่อมาภายหลังจึงได้มีการสถาปนาเป็นกรมหลวงโยธาทิพ ส่วนพระราชธิดาเป็นกรมหลวงโยธาเทพ พระเจ้าหลุยซ์ที่ 14 เคยส่งของมีค่ามาถวายกรมหลวงโยธาเทพอีกด้วย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญแตกต่างจากวีรกษัตริย์พระองค์อื่น พระองค์ทรงมีความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ พระปรีชาสามารถแผ่ไปไกลถึงต่างประเทศ แม้แต่ปืนใหญ่ซึ่งพระองค์ถวายเป็นของขวัญแก่พระเจ้าหลุยซ์ที่ 14 ปืนกระบอกนั้น นักต่อต้านชาวฝรั่งเศสเคยใช้ยิงทำลายคุกบาสติลมาแล้ว

สมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำนุบำรุงให้บ้านเมืองรุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใดในกรุงศรีอยุธยา มีความสามารถพิเศษในการปกครอง มีข้าราชการและเหล่าทหารหาญตามคัมภีร์พิชัยสงครามคือ หัวศึก ได้แก่เจ้าพระยาโกษาเหล็ก มือศึก ได้แก่พระยาเดโชชัย ตีนศึก ได้แก่พลช้างม้าครบถ้วน ตาศึก ได้แก่พระพิมลธรรม หูศึก ได้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ปากศึก ได้แก่พระวิสุตรสุนทร (โกษาปาน) กำลังศึก ก็คือผู้คนช้างม้า เสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ในรัชสมัยของพระองค์

สำหรับ พระราชกัลยาณี พระขนิษฐาของพระนารายณ์ ทรงเป็นราชธิดาที่มีพระรูปสิริวิลาสเลิศนารีเป็นที่ยิ่ง พระศรีสุธรรมาซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระนารายณ์และพระราชกัลยาณีครองกรุงศรีอยุธยามาได้สองเดือนกับอีก 20 วัน และถูกสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีทศพิธราชธรรมอันประเสริฐ แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง ให้มีการลดส่วยสาอากรแก่ราษฎร 3 ปี ทรงบำเพ็ญกุศลหลายประการ ทั้งยังสั่งให้จัดการถวายพระเพลิงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา) ส่วนพระเมรุสูงสองเน้นสิบเอ็ดวา ประดับประดาด้วย ฉัตรทอง ฉัตรนาถ ฉัตรเงิน ฉัตรเบญจรงค์และธงทิวโอ่อ่าโอฬารสมพระเกียรติเสร็จสรรพทุกประการ หลังถวายพระเพลิงแล้ว พระอัฐิธาตุก็ได้อันเชิญไปประจุไว้ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้ว่าจะไม่ต้องทำศึกมากมายอย่างพระนเรศวร แต่น้ำพระทัยของพระองค์มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงมีความคิดรอบคอบใช้พระสติตริตรองปัญหาที่เผชิญหน้าอย่างดีที่สุด มีเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์ที่จะยกมากลาวไว้เรื่องหนึ่ง คือในราวเดือนยี่ ปีเดียวกับการพระราชทานถวายเพลิงศพนั่นเอง มีอำแดงแก่นซึ่งเป็นข้าบาทของพระไตรภูวนาทติยวงศ์ ได้นำเอาความเท็จทูลยุแหย่แก่พระไตรภูวนาทติยวงศ์ ทำนองว่าข้าหลวงของพระนารายณ์กล่าวหาว่า พระไตรภูวนาทติยวงศ์เข้าข้างสมเด็จพระศรีสุธรรมราชามาก่อน ครั้นสิ้นพระชนม์พระศรีสุธรรมราชาแล้วก็หันมาประจบพวกข้าหลวงเหล่านั้น อำแดงแก่นทูลยุยุงพระไตรภูวนาทติยวงศ์หลายครั้ง จนกระทั่งพระไตภูวนาทติยวงศ์คิดซ่องสุมผู้คนไว้นอกพระนคร

เมื่อข้าหลวงเอาเนื้อความมากราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ตามความจริงทุกประการ พระองค์ทรงทราบโดยตลอดว่าบัดนี้พระไตรภูวนาทติยวงศ์ทำการซ่องสุมผุ้คนแน่นอนแล้ว จึงสั่งให้มหาดเล็กเอาเงินหลวงร้อยชั่งให้แก่พระไตรภูวนาทติยวงศ์ โดยบอกว่าให้เอาไปแจกราษฎรทั้งปวงทั่วกัน

ต่อมาพระยาพิชัยสงคราม พระมหามนตรี มากราบทูลอีกว่าพระยาพัทลุงและพระศรีภูริปรีชา คิดอ่านกับพระไตรภูวนาทติยวงศ์จะคิดร้ายกับแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงตรัสว่าจะฟังเนื้อความนี้ดูจงมั่นแม่นเสียก่อน

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นกษัตริย์ที่พระสติรอบคอบคือ ไม่ยอมปักใจชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ครั้นความจริงปรากฏว่าพระไตรภูวนาทติยวงศ์คิดร้ายกับพระองค์จริง ดังคำของเสนาบดีและข้าหลวงผู้จงรักภัคดีและซื่อสัตย์ และทูลขอให้พระนารายณ์สำเร็จโทษตามพระราชประเพณี แต่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยกว้างขวาง จึงตรัสแก่เสนาบดีและข้าหลวงผู้ซื่อสัตย์ว่า

“เราจะสำเร็จโทษที่นี้หาได้ไม่ แต่เราจะไปพระนครหลวงแล้วเราจะทรงม้าต้น ให้องค์ไตรภูวนาทติยวงศ์ขี่ม้าออกไปกลางทุ่งพระนคร ถ้าองค์ไตรภูวนาทติยวงศ์จะคิดทำร้ายแก่เรา ๆ ก็มิเข็ดขาม จะยุทธด้วยองค์ไตรภูวนาทติยวงศ์ที่นั่นและเอาบุญญาธิการแห่งเราเป็นที่พึ่ง”

พระนารายณ์ทรงมีน้ำพระทัยล้ำเลิศเช่นี้และพระองค์ก็ทรงปฏิบัติดังที่ตรัสไว้ น้ำพระทัยอันกว้างขวางเช่นนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดหลายครั้งหลายคราว บรรดาข้าราชบริพาร เสนาบดีและมุขมนตรีทั้งหลายต่างก็พากันชื่นชมในบารมีของพระองค์กันทั่วหน้ากัน

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบด้วยพระองค์หนึ่ง แม้อาจจะไม่เหมือนอย่างพระมหากษัตริย์นักรบองค์สำคัญอื่น ๆ แต่พระองค์ก็ทรงเป็นผู้จัดการด้านกองทัพและปฏิบัติภารกิจในการสงครามอย่างได้ผลดียิ่ง

เมืองเชียงใหม่ซึ่งเสียไปครั้งพระเจ้าปราสาททอง ได้มีหนังสือแจ้งมายังกรุงศรีอยุธยาว่า พวกฮ่อยกเข้าล้อมจะตีเอาเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่หมดที่พึ่ง จึงเสี่ยงทายต่อหน้าพระพุทธรูปที่มีชื่อว่า “พระพุทธสิหิงค์” คือเสี่ยงทายว่าถ้าเมืองใดจะเป็นที่พึ่งพิงได้ขอให้สำแดงนิมิตมาให้เห็น และปรากฏว่า พระพุทธสิหิงค์หันพระพักตร์มาทางกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาพระนารายณ์ก็ยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2205 ทั้งยังได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับคืนมายังกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2206 มีพวกมอญอพยพมาจากพม่า เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์จำนวนประมาณ 5000 คน ซึ่งเคยยกไปเผ่าเมืองเมาะตะมะ ต่างพากันหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระนารายณ์ พระองค์ก็ทรงโปรดเกล้ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ ตำบลสามโคกบ้าง ที่คลองดูจามบัง ที่ใกล้วัดตองปูบัง ทั้งยังได้พระราชทานสิ่งที่จำเป็นอื่น ๆ ด้วย

ต่อมา เจ้าเมืองอังวะ ได้ยกทัพตามพวกมอญที่หนีเข้ามารับราชการและตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยาคืน กองทัพของพระเจ้าอังวะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนารายณ์จึงให้พระยาศรีหาราชเดโชกับพระยาโกษาเหล็กยกไปทัพเมืองอังวะแตกพ่ายกลับไป ได้กวาดต้อนเชลยกลับเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2207 พระเจ้าแผ่นดินเมืองอังวะถูกลอบปลงพระชนม์ บ้านเมืองระส่ำระสาย สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า พม่าเคยยกทัพโจมตีไทยและรบกวนพวกมอญที่เข้ามาพึ่งพิงพระบรมโพธิสมภารอยู่บ่อย ๆ พระองค์เห็นเป็นโอกาสดีจึงจัดทัพไทยและทัพมอญยกไปทางเมืองยาปูน ด่านแม่ละเมาะทางด่านเจดีย์สามองค์และทางเมืองทะวาย กองทัพกรุงศรีอยุธยายกไปรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จากนั้นก็บุกโจมตีเมืองหงสาวดีและเมืองแปร ฝ่ายพม่ายกทัพหนีจากเมืองอังวะลงมาตั้งรับที่เมืองพุกาม ทัพไทยได้ล้อมเมืองพุกามไว้จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2208 จึงได้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าทันสมัย และติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

สมเด็จพระนารายณ์ทรงปรับปรุงกิจการบ้านเมืองทั้งด้านการทหาร และการปกครองอย่างดียิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ อย่างมากมาย พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า เมื่อบ้านเมืองสงบราบคาบปราศจากการรุกรานของศัตรูภายนอกแล้ว การจะทำนุบำรุงให้ประชาราษฎร์มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อความเจริญก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ โดยเฉพาะด้านการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ สมเด็จพระนารายณ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทย

ฝรั่งเศสเป็นชาติที่เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกครั้ง “หลวงวิชเยนทร์” เมื่อครั้งที่มีเจ้าของเรือกำปั้นของฝรั่งเศสได้บรรทุกสินค้าเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึงให้มีการต่อเรือกำปั้นใหญ่ขึ้นลำหนึ่ง เมื่อเรือลำนั้นต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะนำลงจากอู่ต่อเรือ

สมเด็จพระนารายณ์บอกให้ล่ามถามชาวฝรั่งเศสคนนั้นว่า เมืองฝรั่งเศสเอาเรือกำปั้นลงจากอู่เขาทำอย่างไรจึงเอาลงได้ง่าย ฝรั่งเศสพ่อค้ารายนั้นเป็นคนฉลาด มีสติปัญญามากรู้และชำนาญด้านการรอกกว้าน จึงบอกให้ล่ามกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ว่า เขารับอาสาที่จะนำเรือลำนี้ออกจากอู่ด้วยตัวเอง

พ่อค้าฝรั่งเศสนายนั้นจัดการผูกรอกกว้าน และจักรมัดผันชักกำปั้นลำนั้นออกจากอู่ลงมาสู่ท่าโดยสะดวก จึงให้พระราชทานรางวัลมากมายทั้งยังแต่งตั้งให้เป็น “หลวงวิชเยนทร์”

หลวงวิชเยนทร์ ได้รับพระราชทานที่บ้านเรือนและเครื่องยศ ให้อยู่ทำราชการในพระนคร และนั่นเป็นการแสดงถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่จากชาวต่างประเทศและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชนชาติอื่น เป็นการเปิดประตูรับความรู้ใหม่จากโลกภายนอก โดยไม่จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น

หลวงวิชเยนทร์รับราชการสนองพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักภักดี มีวิริยะอุตสาหในราชกิจต่าง ๆ ของบ้านเมือง มีความชอบจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยาวิชเยนทร์”

วันหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์มีพระราชโองการตรัสถามพระยาวิชเยนทร์ว่า ในเมืองฝรั่งเศสมีของวิเศษประหลาดประการใดบ้าง พระยาวิชเยนทร์จึงกราบทูลว่า

“ในเมืองฝรั่งเศสมีช่างทำนาฬิกายนต์ ปืนลม ปืนไฟ กล้องส่องทางไกลเป็นใกล้ กระทำของวิเศษอื่น ๆ ก็ได้ทุกอย่าง มีทั้งเงินทองภายในวังของพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ให้มีการหลอมเงินเป็นท่อน 8 เหลี่ยม ใหญ่ประมาณ 3 ลำ ยาว 7 ศอก ถึง 8 ศอก กองอยู่บนริมถนนเป็นอันมาก เหมือนดุจเสาอันกองไว้ กำลังคนแต่ 13 คน หรือ 14 คนจะยกท่อนเงินนั้นขึ้นไม่ไหว

ภายในท้องพระโรงชั้นในนั้นคาดพื้นด้วยแผ่นศิลา มีสีต่าง ๆ จำหลักลายฝังด้วยเงินทองและแก้ต่าง ๆ สีเป็นลดาวัลย์ และต้นไม้ดอกไม้ภูเขาและรูปสัตว์ต่าง ๆ พื้นผนังก็ประดับด้วยกระจกภาพกระจกเงาอันวิจิตร น่าพิศวง เบื้องบนเพดานนั้นใช้แผ่นทองบ้างดุจแผ่นทองอังกฤษ ตัดเป็นเส้นน้อย ๆ แล้วผู้เข้าเป็นพวกพู่ห้อยย้อยและแขวนโคมแก้วมีสันฐานต่าง ๆ มีสีแก้วและสีทองรุ่งเรืองโอภาสงดงามยิ่งนัก”

สมเด็จพระนารายณ์ทรงฟังคำสรรค์เสริญยกย่องความวิเศษของเมืองฝรั่งเศสอย่างยืดยาวแล้ว พระองค์ก็หาได้เชื่อทันทีทันใดไม่ พระองค์ทรงดำหริขึ้นว่าใครจะเห็นความจริง จึงดำรัสแกพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) “เราจะแต่งกำปั้นไปเมืองฝรั่งเศส จะให้ผู้ใดเป็นนายกำปั้นออกไปสืบดูของวิเศษยังจะมีสมจริงเหมือนคำของพระยาวิชเยนทร์ หรือประการใด”

พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จึงกราบทูลว่าผู้ที่จะเป็นนายกำปั้นนั้นไม่มีใครนอกจากนายปาน ซึ่งเป็นน้อยชายตนสามารถที่จะไปสืบข้อราชการ ในเมืองฝรั่งเศสตามพระประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์จึงเรียกนายปานเข้าเฝ้าเพื่อสอบถามความสมัครใจอีกครั้งหนึ่ง

“อ้ายปานมึงมีสติปัญญาอยู่ กูจะให้เป็นนายกำปั้นไป ณ เมืองฝรั่งเศส สืบดูสมบัติพระเจ้าฝรั่งเศส ยังจะสมดังคำพระยาวิชเยนทร์กล่าว หรือ จะมิสมประการใด จะใคร่เห็นเท็จและจริงจะได้หรือมิได้”

นายปานน้องชายพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) กราบทูลพระกรุณารับอาสาจะไปเมืองฝรั่งเศสตามพระราชดำริของสมเด็จพระนารายณ์ ได้จัดแจงเตรียหาคนดีมีวิชามาคนหนึ่ง ซึ่งเคยเรียนพระกรรมฐานชำนาญในการเพ่งกระสิณมีความรู้วิชามากแต่เป็นนักเลงสุรา พระนารายณ์ก็ยินยอมให้ไปด้วย นายปานก็มีความยินดี จากนั้นก็จัดหาพวกฝรั่งเศสมาเป็นต้นหนถือท้ายและกลาสีเรือ

พระยาโกษาธิบดีนำคณะเดินทางเจริญสัมพันธไมตรีที่จะไปยัง ประเทศฝรั่งเศส เข้าเฝ้าพระนารายณ์ก็ทรงแต่งพระราชสาสน์ให้นายปานเป็นราชฑูตแห่งกรุงศรีอยุธยา และประกอบด้วยข้าหลวงอื่นเป็นอุปฑูต ให้จำทูลพระราชสาสน์นำเครื่องราชบรรณาการออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่เมืองฝรั่งเศส ตามพระราชประเพณี พระราชทานรางวัลและเครื่องยศแก่ทูตานุฑูต โดยควรแก่ฐานุศักดิ์

นับตั้งแต่นั้น นายปานจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาโกษาปาน ราชฑูตของกรุงศรีอยุธยาก็กราบบังคมลาสมเด็จพระนารายณ์ พาพรรคพวกลงเรือกำปั่นใหญ่ ใช้เวลา 4 เดือน ก็ถึงบริเวณใกล้ปากน้ำเมืองฝรั่งเศส บังเอิญขณะนั้นเกิดพายุใหญ่เรือถูกซัดเข้าไปในกระแสน้ำวน ต้องแล่นเรือเวียนอยู่ 3 วัน จึงแล่นถึงปากน้ำฝรั่งเศสจากนั้นจึงได้ขึ้นฝั่ง

เมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส พระยาโกษาปาน ก็ไปปฏิบัติหน้าที่ฑูตไทยเป็นอย่างดีและได้รับการยกย่องจากฝรั่งเศสรวมทั้งชาวต่างประเทศอื่น ๆ พระยาโกษาปานเปนราชฑูตไทยคนแรก และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ส่งราชฑูตเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2205

สมเด็จพระนารายณ์ทรงสร้างความสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสดำเนินไปดวยดี มีการแลกเปลี่ยนด้านความรู้ต่าง ๆ หลายสาขา โดยเฉพาะด้านศาสนา ฝรั่งเศสได้ส่งบาทหลวงที่มีความรู้ทงวิชาการอย่างสูงมาสอนศาสนาคริสตังในกรุงศรีอยุธยา

ศาสนาคริสตังในยุคนั้นดูเหมือนจะเป็นที่รังเกียจของชนชาติต่าง ๆ ในแถบตะวันออก ตัวอย่างของเรื่องนี้ได้แก่ การที่ทางการญี่ปุ่นทำการขัดขวางการสอนศาสนาคริสตังในประเทศนั้น ซึ่งทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาคริสตังต่างพากันเดินทางมายังเมืองไทยเป็นจำนวนมาก

สมเด็จพระนารายณ์ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรเลือกนับถือศาสนา โดยอิสระ คนไทยก็ไม่มีความรังเกียจต่อศาสนาใด ๆ พวกศาสนานั้น ๆ ก็ยึดเอาเมืองไทยเป็นศูนย์กลางสำหรับกิจการเผยแพร่คริสต์ศาสนา นอกจากนี้แล้วชาวฝรั่งเศสก็พยายมหาทางตอบแทนคุณความดีของคนไทยด้วยเช่นกัน

แต่เดิมคนไทยต้องประสบปัญหายุ่งยากจากชาวต่างชาติเช่นชาวอังกฤษ และฮอลันดาเพราะมีการแก่งแย่งทางด้านการค้าขายถึงขนาดเกิดปัญหาต้องใช้กำลัง และอาวุธเข้าตัดสินกันบ่อย ๆ เมือไทยทำการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ดีขึ้น ทำให้ฝรั่งชาติอื่น ๆ ต้องระมัดระวังตัวไม่กล้าก่อเรื่องอะไรขึ้นอีก

สำหรับประโยชน์ที่ได้จากนักสอนศาสนานั้น นับว่ามีอยู่หลายประการ คือทำให้เกิดผลดีในสังคมเช่นการตั้งโรงเรียนให้การศึกษา การตั้งโรงพยาบาล หรือการสงเคราะห์ชุมชนที่ขาดแคลนและเด็กกำพร้าเป็นต้น

ประโยชน์ด้านการค้ากับต่างประเทศ

ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย มลายู ชวา อังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกส และฝรั่งเศส

ประโยชน์ที่ไทยได้จากการค้ากับฝรั่งเศสก็คือทำให้เกิดตลาดการค้า มีตลาดการค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง คนไทยก็พลอยได้รับความรู้ทางด้านการค้ามากกว่าเดิม

นอกจากประโยชน์สำคัญทางด้านการค้าแล้ว การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะฝรั่งเศสนั้น พระเจ้าหลุยซ์ได้ทำการคัดเลือกทหารส่งมาเป็นทหารรักษาพระองค์แก่สมเด็จพระนารายณ์เป็นทหารที่อยู่ในวินัยและกล่าวว่ามีเชื้อสายผู้ดีมีสกุลของฝรั่งเศส เป็นทหารที่นำความดีงามมาสู่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีทหารช่างฝีมือดีร่วมกับบาทหลวง ให้ความช่วยเหลือ สร้างป้อมปราการ กำแพงเมือง การประปาตลอดจนอาคารต่าง ๆ และประตูเมืองเป็นต้น

สมเด็จพระนารายณ์เป็นผู้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่สอง

สมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความคิดก้าวหน้า มองการณ์ไกลได้ว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในชัยภูมิที่ล่อแหลมต่ออันตราย เพราะเมื่อคราวที่เรือรบ ฮอลันดาปิดอ่าวไทย บทเรียนครั้งนั้นทำให้พระองค์คิดย้ายเมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่ลพบุรี ทรงสร้างเมืองลพบุรี สร้างนารายณ์ราชนิเวศน์เป็นพระราชวังประทับของพระองค์ จัดสร้างการประปาและชลประทานที่อำนวยความสะดวกขึ้น นอกจากเมืองลพบุรีแล้วพระองค์ก็ทรงสร้างเมืองนครราชสีมาและป้อมค่ายต่าง ๆ อีกมากมาย

ด้านการบำรุงการศึกษาและศิลปวิทยาสาขาต่าง ๆ สามเด็จพระนารายณ์ทรงสร้างประโยชน์ไว้อย่างมากมาย เช่นตำราภาษาไทยที่ชื่อ “จินดามณี” ซึ่งใช้กันมาจนถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าวิทยาการสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือด้วยพระองค์เอง เช่นลิลิตพระลอ เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษาโดยทั่วถึง รัชสมัยของพระองค์จึงเป็นสมัยที่อักษรศาสตร์เจริญรุ่งเรือง มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตมากมายตัวอย่างเช่น พระมหาราชครู พระโหราธิบดี ศรีปราชญ์ และเจ้าเชียงใหม่เป็นต้น

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้เข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งนำเอาวิทยาการต่าง ๆ มาใช้ปรับปรุงกับประเทศไทย มีความดีความชอบมาก จึงโปรดให้เป็นเจ้าพระยาวิชเยนทร์

เจ้าพระยาวิชเยนทร์นำวิชาสมัยใหม่ทางการค้าการช่าง วิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการส่งคนไทยไปเรียนในยุโรปเพื่อนำความรู้มาใช้กับประเทศไทย

อย่างไรก็ตามเจ้าพระยาวิชเยนทร์กลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์และกลายเป็นชนวนสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งทำให้บุคคลทั้งสองคิดการกบฎขึ้น

ในปี พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีอาการประชวรหนัก พระองค์ไม่มีราชโอรสเป็นรัชทายาท มีแต่พระธิดา ซึ่งแต่งตั้งเป็นกรมหลวงโยธาเทพ มีพระเจ้าน้องยาเธออีก 5 พระองค์ คือกรมหลวงโยธาทิพ กับเจ้าฟ้าอภัยทศ ทั้งสองพระองค์นี้นับถือคริสตังและมีพระปิยะเป็นเชื้อเจ้าราชนิกูลอยู่อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งพระนารายณ์ทรงชุบเลี้ยงไว้มาแต่เล็ก ทรงมีพระเมตตาเหมือนราชโอรส

เจ้าพระยาวิชเยนทร์รู้ว่าอย่างไรเสียเชื้อพระวงศ์พระองค์นี้ คงจะได้มีโอกาสรับมอบราชสมบัติ จึงเอาไว้เป็นพวกฝ่ายตน แต่ฝ่ายข้าราชคิดว่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์อาจจะคิดร้ายต่อไทย จึงมีความคิดเห็นเข้าข้างพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์

ในที่สุดพระเพทราชากับขุนหลวงสรศักดิ์ก็ลงมือกระทำการกบฏ เพราะคิดว่าอย่างไรเสียสมเด็จพระนารายณ์คงสวรรคตอย่างแน่นอน ฝ่ายกบฎจับเอาพระปิยะและเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไปประหารที่ทะเลชุบศร

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบข่าวด้วยความสะเทือนพระทัย จะทำอะไรก็ไม่ได้เพราะอยู่ในอาการประชวรอย่างหนัก รู้สึกปริเวทนาว่าอยุธยาถึงคราวจะวิบัติในครั้งนี้

พระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์กระทำการทุกอย่างตามอำเภอใจ เชื้อพระวงศ์และข้าราชการที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามถูกกำจัดไปหมดสิ้น จากนั้นก็หันมากำจัดพวกฝรั่ง

สมเด็จพระนารายณ์ได้สวรรคตลงที่เมืองลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2231 ครองราชย์อยู่นาน 32 ปีมีพระชันษา 59 ปี

ตลอดระยะเวลา 32 ปีที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้สร้างประโยชน์แก่ชาติไทยไว้หลายด้าน วิทยาการใหม่ ๆ จากต่างประเทศถูกนำมาใช้ปรับปรุงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ซึ่งพระกรณียกิจของพระองค์ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเคยทำได้เช่นนี้มาก่อน

พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนารายณ์เปนที่ยกย่องสรรเสริญแก่ประชาชาติไย พระนามของพระองค์เป็นที่เลื่องลือไปไกล พระปรีชาสามารถของพระองค์ แม้แต่จดหมายเหตุของต่างประเทศ ยังได้บันทึกเกียรติประวัติของพระองค์ไว้ด้วยหลายแห่ง

พระราชกรณียกิจอันสำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นแบบอย่างแห่งการเจริญก้าวหน้าในสมัยต่อ ๆ มา เมืองลพบุรีที่พระองค์สร้างขึ้นเป็นมรดกชิ้นสำคัญ เป็นเสมือนประตูชัยแห่งความก้าวหน้าเปิดกว้างไว้สำหรับอนาคตอันรุ่งโรจน์ของชาติ คุณงามความดีอันใหญ่ของพระองค์ ประชาชาติไทยจึงถวายพระนามเทิดพระเกียรติอันสูงส่งของพระองค์ว่า “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช”

 
     
 

 

 

   
   
อนุสรณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นอนุสรณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยที่สร้างประโยชน์และความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง ตั้งอยู่ที่เมืองลพบุรีเนื่องจากเมืองแห่งนี้ เป็นเมืองที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นราชธานีแห่งที่สอง

ในครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์อยู่ พระองค์จะแปรพระราชฐานมาอยู่ที่ราชธานีแห่งนี้ในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนก็จะแปรพระราชฐานไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรี จึงเป็นเมืองอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ครั้นทางราชการดำหริจัดสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ขึ้น จึงตกลงใจเลือกเอาเมืองลพบุรี หรือเมืองละโว้ เป็นสถานที่ตั้งอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ที่ตัวจังหวัดลพบุรี หล่อด้วยโลหะ ใจลักษณะยืน ฉลองพระองค์เต็มยศตามรัชสมัยของพระองค์ มงกุฎเป็นยอดแหลมแปลกตากว่าอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ

ชาวเมืองลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประชาชนชาวไทยต่างยกย่อยเคารพสักการะอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างยิ่ง ทางจังหวัดลพบุรี ร่วมด้วยพ่อค้าประชาชนชาวเมืองลพบุรี ร่วมใจกันจัดงานสมโภชน์เพื่อเทอดพระเกียรติพระองค์ท่านเป็นประจำทุกปี เรียกว่า “วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช”

ประวัติพระเอกาทศรถ

30 มิ.ย.

ประวัติพระเอกาทศรถ

 

พระเอกาทศรถ พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง กับพระวิสุทธิกษัตรี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระองค์เป็นพระอนุชาของพระสุพรรณกัลยา และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยทั้งสามพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก ในขณะที่สมเด็จพระราชบิดา คือสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เสด็จครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทั้งสามพระองค์ทรงรักใคร่กันยิ่งนัก แต่จาเป็นต้องพลัดพรากกันไปด้วยเหตุผลทางการเมือง กล่าวคือ ในปีกุน พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนอง ได้นำพระเชษฐา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปยังกรุงหงสาวดี เป็นเวลา ๖ ปี

 

ภาพเขียนพระราชประวัติ ฯ ในอุโบสถ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก1 300x203 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

ภาพเขียนพระราชประวัติ ฯ ในอุโบสถ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

 

ในปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กลับมาอยุธยา พระเชษฐากับพระอนุชาจึงได้มีโอกาสประสบพักตร์กันอีก แต่พระสุพรรณกัลยา พระเชษาภคินี ก็ต้องเสด็จไปเป็นตัวแทนในฐานะเป็นพระชายาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สมเด็จพระเอกาทศรถ จึงต้องห่างจากพระเชษาภคินีอีก

ภาพเขียนพระราชประวัติ ฯ 300x186 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

ภาพเขียนพระราชประวัติ ฯ ในอุโบสถ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก คราวส่งเสด็จ สมเด็จพระนเรศวร ไปหงสาวดี

หลังจากสมเด็จพระนเรศวรกลับจากกรุงหงสาวดีแล้ว ก็ทำการฝึกราชการอยู่ที่อยุธยา จนเมื่อ สมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาให้เสด็จไปประทับราชธานีพิษณุโลก เพื่อปกครองหัวเมืองเหนือแทนพระราชบิดา ครั้นสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเจริญวัย ก็ทรงดาเนินรอยตาม ฝึกราชการต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่พระเชษฐาฝึกอยู่

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถไว้ว่า “ พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ ในพระราชพงศาวดาร ไม่มีหลักอันใดที่จะสอบให้รู้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถพระราชสมภพเมื่อปีใด เรื่องพระชันษาหาที่สอบไม่ได้ทีเดียว ถ้าจะเดาตามสังเกตเนื้อเรื่องที่ได้เสด็จไปรบพุ่งร่วมกับสมเด็จพระบรมเชษฐา สมเด็จพระเอกาทศรถเห็นจะอ่อนกว่าสมเด็จพระนเรศวร ราวสัก ๖ ปี คือเมื่อเริ่มรบเอาอิสรภาพกับหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา สมเด็จพระเอกาทศรถพระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา ”

ข้อความของวัน วลิต จาก The Short History of the King of Siam ใน Van Viet’s Siam แปลโดย วนาศรี สามนเสน ( มติชน,๒๕๓๘ หน้า ๖๖- ๖๘ ) อ้างโดย พิมาน แจ่มจารัส ในหนังสือ นเรศวรมหาราช สุพรรณกัลยา เอกาทศรถ ความว่า

“ พระอนุชาพระนเรศราชาธิราช เสวยราชย์เมื่อพระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงพระนามว่า พระอนุชาธิราช พระราเมศวร … พระองค์เสวยราชย์อยู่ ๖ ปี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ ๕๑ พรรษา ไม่มีความเจริญรุ่งเรืองใดๆ ในสมัยของพระองค์ และกลับเป็นระยะเวลาที่มีความยุ่งยากเรื่อยมา ”

ซึ่งหากพิจารณา ตามบันทึกของวัน วลิต ข้างต้นแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถ ก็คงพระราชสมภพ ใน พ.ศ.๒๑๐๓ ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๘ ( พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ) ครองราชย์ ๕ ปีเศษจึงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๕๓ รวมพระชนมายุ ๕๐ ปีเศษ ใกล้เคียงกับ บันทึกของวัน วลิต ในข้างต้น

ทรงผนวช

จากหนังสือ สมเด็จพระเอกาทศรถ ฉบับออกอากาศ ของคุณ ประยูร พิศนาคะ ซึ่งจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้กล่าวถึงการผนวชของสมเด็จพระเอกาทศรถ ไว้ว่า

“ ตามธรรมดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา จะออกผนวชแล้วเสด็จประทับอยู่วัดใดวัดหนึ่ง ใกล้พระราชวัง อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น แต่ปรากฏว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จไปผนวชอยู่ที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก อันมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ที่สมเด็จพระบรมเชษฐาประทับครอง … วัดจุฬามณี เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองพิษณุโลก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๗ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จผนวชอยู่ที่วัดจุฬามณี ถึง ๘ เดือน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์แรกที่ทรงสร้างและผนวชอยู่ที่วัดนี้ ต่อมาก็สมเด็จพระเอกาทศรถ ”

พระเอกาทศรถ.พ.ท.วินธัย สุวารี jpg 182x300 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถ รับบทโดยพ.ท.วินธัย สุวารี ใน ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระชนมายุ

หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐา ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ แล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้ครองราชสมบัติต่อมา ระยะเวลาในการครองราชสมบัติของพระองค์ ไม่ตรงกัน มีตั้งแต่ ๕ ปีเศษ , ๗ ปี , ๘ ปี และ ๑๕ ปี มีรายละเอียดเท่าที่รวบรวมได้ดังนี้

1 300x252 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

 หลักฐานประวัติศาสตร์ของไทย ยึดถือตามบันทึกของพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งเหตุผลของการที่ระบุปีครองราชย์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในแต่ละที่ไม่ตรงกันนั้น เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้

แต่งขึ้นในราวสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นหลัก โดยนักประวัติศาสตร์ไทย ถือว่าเป็นฉบับที่ ถูกต้องแม่นยาที่สุด ( กรณีเทียบ จ.ศ. เป็น พ.ศ. ต้องบวกด้วย ๑๑๘๑ ) ซึ่งพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฉบับที่ ๑ นั้น บันทึกไว้สิ้นสุดคราวสมเด็จพระนเรศวร พักทัพที่ทุ่งดอนแก้ว ก็หมดเล่ม ๑ เพียงเท่านั้น ฉบับที่เหลือสูญหายไป เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลังจากการยั้งทัพของสมเด็จพระนเรศวรไปแล้ว ต้องสืบค้นจากที่อื่นประกอบ

 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ ก็ให้ความเห็นว่า หลักฐานหลวงประเสริฐสิ้นสุดเท่าที่กล่าว ประมาณว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ สวรรคตราว พ.ศ.๒๑๖๓

 ปี พ.ศ.๒๕๓๙ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่งตั้งโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีข้อยุติปรับปี รัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็น ครองราชย์ในห้วง พ.ศ.๒๑๔๘ – พ.ศ.๒๑๕๓ โดยมีความเห็นตามบันทึกของชาวต่างชาติชื่อ ฟานฟลีต ( วันวลิต ) ซึ่งบันทึกไว้ราวปี พ.ศ.๒๑๘๒ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยระบุว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ ๑๙ ปี จากเดิมเข้าใจว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราชย์ ๙ ปี จึงต้องปรับลดปีรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ จากเดิมครองราชย์ ๑๕ ปี เป็นสมเด็จพระเอกาทศรถครองราชย์ ๕ ปี สอดคล้องกับงานเขียนของ ปีเตอร์ ฟลอรีส ที่กล่าวว่าสมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคต ในปี ค.ศ.๑๖๑๐ ( ตรงกับ พ.ศ.๒๑๕๓ )

 

ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช ( ท่านเสียชีวิตแล้วประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๑ ) ได้ให้ความเห็นในการครองราชย์ของ สมเด็จพระเอกาทศรถ ,พระศรีเสาวภาคย์ และพระเจ้าทรงธรรม ไว้ในวารสาร กรมศิลปากร ปีที่ ๑ พ.ศ.๒๕๑๔ เล่มที่ ๒ ,๓ และ ๔ เรื่อง สอบปีรัชกาล สมเด็จพระเอกาทศรถ สรุปได้ดังนี้

 15 12 2554 17 46 25 300x141 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

คุณ พิมาน แจ่มจรัส ได้กล่าวในหนังสือ นเรศวรมหาราช สุพรรณกัลยา เอกาทศรถ พ.ศ.๒๕๕๐ โดยอ้างถึง “ หลักาฐานประวัติศาสตร์ไทยในต่างประเทศ ” ของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลแลนด์ ว่า

“ ในที่สุด ทูตไทยก็อาศัยเรือของฮอลันดา มากับล่ามหนุ่ม ๆ คนหนึ่ง เคยไปอยู่เมืองไทย ๖ ปี และได้เดินทางมาถึงฮอลันดาเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๑๕๑ ปรากฏว่า ทูตต้องตกค้างอยู่ฮอแลนด์ถึงวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๑๕๓ ขาไปไปกับ มัตเตอลิเอ็ฟ ขากลับมาในเรือของปีเตอร์โบธ กลับมาถึงบ้านเมื่อ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๑๕๓ ในขณะนั้น สมเด็จพระเอกาทศรถ ถามข่าวคราวถึงทูตของพระองค์เสมอ ในเมื่อผู้แทนการค้าของฮอลันดา ในกรุงศรีอยุธยา ตอนแรก เฮน ( Heyn ) อยู่ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๑๕๓ คอร์เนลิส ฟรังค์ ( CORNELIS FRANCK ) ก็มาอยู่แทน ได้ยินว่า กว่าฑูตจะกลับถึงเมืองไทยก็ถึง พ.ศ.๒๑๕๕ ”

หากจะพิจารณาข้อมูลข้างต้น แสดงว่า ในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๑๕๓ เรายังทราบว่าเป็นวันที่สมเด็จพระเอกาทศรถยังมีพระชนม์อยู่ หลังจากนั้น พระองค์คงจะทรงพระประชวรและคงจะสวรรคตในปลายปี พ.ศ.๒๑๕๓ เนื่องจาก อาจตรอมพระราชหฤทัยที่ เจ้าฟ้าสุทัศน์ พระราชโอรสพระองค์แรกของพระองค์ ที่ทรงแต่งตั้งเป็นพระอุปราช สิ้นพระชนม์ พระศรีเสาวภาคย์ ราชโอรสองค์ที่ ๒ และพระเจ้าทรงธรรม ก็ครองราชย์สืบต่อมา

กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ ได้เสนอเรื่องไปยังกรมศิลปากร เพื่อขอทราบปีสวรรคตของสมเด็จพระเอกาทศรถ ว่าทางราชการได้กำหนดความชัดเจนในปีรัชกาลของพระองค์ท่าน เป็นทางการอย่างไร ซึ่งกรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้ประชุมหารือกันและสรุปว่า พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตใน ปี พ.ศ. ๒๑๕๓ จึงมีหนังสือตอบยืนยันให้ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ ทราบ โดยใช้ตามหลักฐานของคณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์ และงานเขียนของผู้เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยในการพิจารณา จึงนับได้ว่า พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นปีครบรอบ ๔๐๐ ปี แห่งการสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถ โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ผ่านมานั้น กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓ ได้จัดงานเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อย่างสมพระเกียรติ เราชาวไทยทั้งหลายจะต้องร่วมกันราลึกถึงพระเกียรติคุณ และพระวีรกรรมของพระองค์ท่าน ที่มีต่อประเทศไทยอย่างเหลือคณานับ ไม่น้อยไปกว่าพระเกียรติคุณ และพระวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเชษฐาที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงถวายความจงรักภักดีด้วยความกล้าหาญเสี่ยงพระชนม์ชีพ ในการป้องกันภยันตรายแก่พระเชษฐาของพระองค์ท่าน จนสุดพระราชกำลัง ยากที่จะหาใคร ๆ จะเสมอเหมือนได้ ตามที่จะเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบพระวีรกรรมของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในตอนต่อ ๆ ไป

สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย โดยมีสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์เป็นต้นราชวงศ์ ปกครองกรุงศรีอยุธยา รวม ๗ พระองค์ จึงสิ้นสุดราชวงศ์สุโขทัย เปลี่ยนผ่านไปสู่ราชวงศ์ปราสาททอง ต่อไป มีรายละเอียด ดังนี้

 

พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา 300x281 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา

หมายเหตุ :

๑. ตามลำดับของประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ ถือว่า พระมหากษัตริย์ไทยที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา

มี ๓๓ พระองค์ ( ไม่รวมขุนวรวงษาธิราช ) สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลาดับที่ ๑๙

๒. นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า พระมหากษัตริย์ไทยที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา มี ๓๔ พระองค์

( รวมขุนวรวงษาธิราช ) ถ้านับว่ามี ๓๔ พระองค์ สมเด็จพระเอกาทศรถ จะเป็นพระมหากษัตริย์ลาดับที่ ๒๐

 

 

แผนที่อยุธยาในอดีต 300x264 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

แผนที่อยุธยาในอดีต

 

 

สรุปปีรัชกาล พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา 300x165 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

สรุปปีรัชกาล พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา

ที่มา : ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ พ.ศ.๒๕๓๙

หมายเหตุ * เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ระบุว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงครองราชย์ ๖ ปี และ

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงครองราชย์ ๑๙ ปี

** ขจร สุขพานิช ระบุว่า พระศรีเสาวภาคย์ ทรงครองราชย์ราว ๒ – ๓ เดือน

 

 

พระเอกาทศรถ1 249x300 พระราชประวัติสมเด็จพระเอกาทศรถ

พระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งพระองค์ทรงมีระยะเวลาครองราชย์สมบัติเพียง ๕ ปีเศษ เราทั้งหลายไม่ สามารถคาดเดาได้ว่า พระองค์ทรงมียุทธศาสตร์ในการปกครองประเทศอย่างไร ยุทธศาสตร์บางอย่างนั้น ยังไม่สามารถปรากฏได้ชัดในรัชกาลของพระองค์ จึงนับเป็นรอยต่อระหว่างห้วงสงครามมาสู่การค้าและ การทูต ซึ่งหากพระองค์ทรงวางรากฐานให้กับประเทศไม่ดีพอแล้ว ก็อาจเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ไม่ดีแก่ ประเทศสยามได้ ภายใต้การคุกคามของชาวตะวันตกในสมัยนั้นและภัยจากประเทศรอบด้านซึ่งอาจก่อขึ้น เมื่อใดก็ได้ แต่ภายใต้ระยะเวลาที่พระองค์มีอยู่ พระองค์ท่านก็สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ จนทำให้สยามประเทศมีความรุ่งเรืองแผ่ไพศาลอย่างมาก สามารถรักษาผืนแผ่นดินที่พระเชษฐาและพระองค์ ได้ ทรงร่วมกันปกป้องมาได้โดยไม่เสียดินแดนและเอกราชให้ชาติใด ๆ แม้แต่น้อย

วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของสมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถ สวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๕๓ หลังจาก สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงเสร็จ

การระงับศึกสำคัญต่าง ๆ ได้แล้ว พระองค์จึงได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชบิดา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๖

สมเด็จพระเอกาทศรถ

ตลอดระยะเวลาแห่งพระชนม์ชีพ สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย ถวายการรับใช้

และทรงเข้าทำการรบเคียงข้างสมเด็จพระเชษฐาผู้ทรงพระนามว่า “ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” อยู่

ตลอดเวลา นำพาสยามประเทศให้เจริญวัฒนาสืบมา แม้ว่าพระนามของพระองค์ท่าน จะไม่มี “ มหาราช ”

ต่อท้ายพระนามเลยก็ตาม แต่พระองค์ท่าน ก็ทรงเป็น “ มหาราชในดวงใจ ” ของชาวไทยอยู่เสมอมา

30 มิ.ย.

 

ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระนามเดิมว่า “พระองค์ดำ” พระราชสมภพเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา (สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์)และพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระธิดาในพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จพระสุริโยทัย) ทรงมีพระพี่นางทรงพระนามว่า พระสุพรรณเทวี (พระสุพรรณกัลยา) และพระอนุชาทรงพระนามว่า พระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ต่อมา พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้รับชัยชนะ และก่อนจะเลิกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงขอ “พระองค์ดำ” เป็นราชบุตรบุญธรรม ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 9 พรรษาให้ตามเสด็จไปอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ประเทศพม่า เพื่อเป็นองค์ประกัน พ.ศ.2114 เมื่อทรงพระชนมายุได้ 16 พรรษา ฝ่ายพระได้สถาปนาพระมหาธรรมราชา ขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราช สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงขอ “พระองค์ดำ” พระราชโอรสกลับมาช่วยงานภารกิจบ้านเมือง ในฐานะอุปราช โดยให้ครองเมืองพิษณุโลก และได้ถวาย “พระสุพรรณกัลยา” พระราชธิดาพระองค์ใหญ่เป็นองค์ประกันแทน ปี พ.ศ. 2117 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองเมืองพิษณุโลกได้ไม่นาน พระเจ้าหงสาวดีมีรับสั่งให้เกณฑ์ทัพกรุงศรีอยุธยาให้ยกไปช่วยปราบปรามเมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยสมเด็จพระนเรศวรได้ตามเสด็จพระราชบิดาในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และโปรดให้สร้างวังหน้าหรือ “วังจันทน์เกษม” ในปัจจุบันเพื่อใช้เป็นที่ประทับและอำนวยการทำศึกสงคราม ในปี พ.ศ. 2120 ปี พ.ศ. 2123 สมเด็จพระนเรศวรพร้อมด้วยพระเอกาทศรถ นำไพล่พล 3,000 ไปสมทบกับทัพเมืองชัยบาดาลและเมืองศรีเทพ เพื่อนำทัพเข้าโอบล้อมโจมตีกองทัพเขมรจนแตกพ่าย ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2124 พระเจ้าหงสาวดีเสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชนันทบุเรง เสด็จขึ้นครองราชย์แทนในครั้งนั้นมีเหตุเจ้าฟ้าไทยใหญ่แห่งเมืองคัง คิดตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง จึงมีรับสั่งให้สมเด็จพระนเรศวรคุมกองทัพไทย พระมหาอุปราชคุมกองทัพพม่า และพระสังกทัตคุมกองทัพมอญไปปราบปราม ครั้นถึงกำหนดวันที่สมเด็จพระนเรศวรนำกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองคัง ทหารฝ่ายไทยก็สามารถจับกุมเจ้าฟ้าเมืองคังได้ทันท่วงที ทำให้พระมหาอุปราชและพระสังกทัตได้รับความละอาย ต้องยอมรับความปราชัยในการประชันพระปรีชาสามารถทางการศึกสงครามไม่รู้ลืม ปี พ.ศ. 2126 สมเด็จพระมหาธรรมราชา โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนเรศวรคุมทัพไปช่วยทัพของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ซึ่งยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่ทัพไทยยกไปไม่ทันตามกำหนด เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความระแวง จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาหาทางกำจัดสมเด็จพระนเรศวร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง พระองค์ได้ทรงทราบแผนของพระมหาอุปราชา ที่ให้พระยาเกียรติ พระยาราม หาทางกำจัดพระองค์จากพระมหาเถรคันฉ่อง พระองค์จึงโปรดฯ ให้แม่ทัพนายกองมาประชุมและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยคณะสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินประกาศอิสระภาพ ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงหงสาวดี ณ เมืองแครง ในวันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2127 เวลาประมาณ 19.00 น. และได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2133 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา พร้อมกับทรงสถาปนา พระเอกาทศรถ เป็น “พระมหาอุปราช” และให้ถือพระเกียรติสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดิน พ.ศ. 2138 ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 1 ปราบกบฏเมืองตะนาวศรี เกลี้ยกล่อม พระยาพะโร แห่งเมาะลำเลิงให้แข็งเมือง เพื่อตีเมาะตะมะให้สำเร็จพม่าหนีไปอยู่หงสาวดี มอญและไทยร่วมมือกันตีกองทัพพระเจ้าตองอูพ่ายไป หัวเมืองมอญสวามิภักดิ์ต่อไทย ล้อมกรุงหงสาวดีอยู่ 3 เดือน ทราบข่าวว่ามีกองทัพตองอู อังวะ และแปรมาช่วยจึงถอยทัพ แต่การศึกครั้งนี้ทำให้ความเป็นราชาธิราชของพม่าล่มสลาย ทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ สามารถแผ่อาณาจักรได้ถึงประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2142 ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 โปรดให้เจ้าพระยาจักรียึดเมาะลำเลิง และเกณฑ์คนให้ทำนาเพื่อสะสมเสบียง เกณฑ์ทวายให้ต่อเรือรบ เกลี้ยกล่อมมอญให้เข้าร่วมด้วย เมืองยะไข่และเมืองตองอูยินยอมจะยกทัพมาสมทบ แต่พระมหาเถรเสียมเพรียมยุยงพระเจ้าตองอูและยะไข่ให้ทรยศต่อไทย ยุมอญให้กระด้างกระเดื่องต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรฯ และพระเอกาทศรถต้องเสียเวลาปราบปรามมอญ ทำให้กองทัพตองอูและยะไข่ยกไปถึงหงสาวดี เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงทราบว่ากองทัพอยุธยาสามารถปราบมอญได้ราบคาบ และยกทัพถึงเมืองเมาะตะมะแล้วจึงรีบเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอู รีบเก็บทรัพย์สมบัติแล้วเผาพระราชวังหลบหนีไปเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรฯ และพระเอกาทศรถเสียเวลาในการเดินทางไปเมืองตองอู ซึ่งการเดินทางเต็มไปด้วยความลำบาก พื้นที่เป็นภูเขาสูงและต้องระมัดระวังการลอบโจมตีของกองทัพตองอูและยะไข่ เมื่อถึงตองอูซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการแข็งแกร่ง มีคูเมืองกว้างและลึกมาก ในระหว่างล้อมเมืองต้องให้ขุดคูไขน้ำลงแม่น้ำสะโตง ทุกวันนี้ยังเรียกว่า เมืองอโยธยา จนถึงฤดูฝนและเสบียงอาหารที่เตรียมมาเพื่อตีกรุงหงสาวดีก็ร่อยหรอลง จึงต้องเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา กรุงหงสาวดีที่เคยแข็งแกร่งต้องเหลือเพียงเถ้าถ่าน พระสังกทัต (นัดจิงหน่อง) พระราชบุตรพระเจ้าตองอูดำริว่าพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เป็นตัวสาเหตุทำให้ตองอูเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ จะต้องยกทัพมาย่ำยีตองอูอย่างแน่นอน อีกทั้งเมืองทั้งหลายได้แตกแยกกัน เนื่องจากพระเจ้าหงสาวดีเป็นต้นเหตุ พระสังกทัตจึงลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษเสีย เมื่อเดือน 11 แรม 10 ค่ำ พ.ศ. 2143 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็สิ้นพระชนม์ขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองตองอูได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น พ.ศ. 2147 สงครามครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรฯ โปรดให้สะสมเสบียงอาหารและปรับปรุงกองทัพให้เข้มแข็ง ด้วยหมายจะปราบพม่าให้ราบคาบ จึงใช้เวลาถึง 3 ปีเศษ รับสั่งให้เดินทัพไปเมืองเชียงใหม่และให้แยกเป็นสองทัพ โดยทัพพระเอกาทศรถให้ยกออกไปทางเมืองฝาง ส่วนทัพสมเด็จพระนเรศวรยกไปทางเมืองหางหรือห้างหลวง ที่ตำบลทุ่งแก้ว ริมแม่น้ำสาละวิน และได้เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (บ้างว่าถูกแมลงพิษต่อย) ที่พระพักตร์ แล้วเลยเป็นบาดทะยัก จนพระอาการหนักจึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้า ทรงได้พยาบาลพระเชษฐาธิราชได้ 3 วัน

30 มิ.ย.

 

ประวัติพ่อขุนผาเมือง

 

 

 

 

point.gif (54 bytes) อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง (สี่แยกหล่มสัก) บ้านน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหล่มสักประมาณ 3 กิโลเมตร พระรูปทำด้วยโลหะ ประดิษฐานในอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น เป็นที่เคารพสักการะของชาวเพชรบูรณ์ และผู้ที่เดินทางผ่านไปมาในเส้นทางดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง

point.gif (54 bytes) ประวัติพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมือง วีระกษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวจังหวัดเพชรบูรณ์เคารพสักการะ เพื่อระลึกถึงเกียรติคุณความดีวีระกรรมความกล้าหาญ ความเสียสละ

พ่อขุนผาเมืองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว จากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ระบุว่า บรรพบุรุษของพ่อขุนผาเมืองคือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งครอบครองเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย มีโอรสและธิดา 2 องค์ คือ พ่อขุนผาเมือง และนางเสือง ส่วนบรรพบุรุษของขุนบางกลางหาว ทราบแต่เพียงว่าครองเมืองบางยาง

ต่อมาพ่อขุนศรีนาวนำถม จึงยกนางเสืองให้อภิเษกสมรสกับพ่อขุนบางกลางหาว ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาวนอกจากจะเป็นเพื่อนสนิทกันแล้วยังเกี่ยวดองเป็นญาติกันอีกด้วย

เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสบาดโขลญลำพง เชื่อว่าเป็นขุนนางเขมรที่ถูกส่งมาดูแลศาสนสถานประจำเมืองสุโขทัย เข้ายึดเมืองสุโยทัยแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ครั้งนั้นพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นโอรสองค์โตของพ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ร่วมมือกับพระสหายคือพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยางเข้าตียึดเมืองสุโขทัย และขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง โดยที่พ่อขุนผาเมืองเปํนทัพหนุนให้พ่อขุนบางกลางหาว แต่เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวจะเสียที จึงร้องขอให้พ่อขุนผาเมืองมาช่วยตีกระหนาบขอมสบาดโขลญลำพงจนพ่ายแพ้ไป

เมื่อขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปแล้ว พ่อขุนผาเมือง จึงอัญเชิญพ่อขุนบางกลางหาวเข้าครองเมืองสุโขทัย โดยสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวครองเมืองสุโขทัย พร้อมมอบพระขรรค์ชัยศรี และพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่ครองเมืองสุโขทัยสืบมา เมื่อเสร็จศึกกับขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกกับนางสิงขรมหาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมที่ครองกรุงยโสธรนครธม

นักประวัติศาสตร์บางท่านให้ข้อสันนิษฐานที่น่าเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่พ่อขุนผาเมืองไปยอมปกครองเมืองสุโขทัย อาจเป็นเพราะคนไทยต้องการหลุดพ้นจากอำนาจขอม ประกอบกับพ่อขุนผาเมืองมีฐานะเป็นลูกเขยของกษัตริย์ขอม จึงจำเป็นหลีกทางให้พ่อขุนบางกลางหาวและเหตุผลอีกประการหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าเมืองราดนั้น อาจจะเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเขตอิทธิพลขอม พ่อขุนผาเมืองจึงจำเป็นต้องกลับมาเมืองราด เพื่อป้องกันการรุกรานจากขอม หลังจากนั้นเรื่องราวของพ่อขุนผาเมืองก็เลือนไปจากบันทึก ประวัติศาสตร์

ข้อสันนิษฐานว่าเมืองราดอยู่ที่ใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานและหาข้อสรุปได้ นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า เมืองราดน่าจะอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก มากกว่าบริเวณอื่น ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น จากศิลาจารึกหลักที่ 2 ได้ระบุว่าพ่อขุนบางกลางหาวกับพ่อขุนผาเมืองได้ปรึกษาหารือร่วมกันในการเข้าตียึดเมืองสุโขทัย ซึ่งควรที่จะมีการติดต่อสื่อสารกันบ่อย ๆ ฉะนั้นเมืองราดและเมืองบางยางไม่ควรจะอยู่ห่างกันมากนัก และจากข้อความในศิลาจารึกก็ได้ระบุว่า กองทัพของพ่อขุนทั้งสองได้แยกกันเข้าตีเมืองสุโขทัย โดยที่พ่อขุนบางกลางหาวเขาตีทางด้านทิศเหนือ และยึดเมืองศรีสัชนาลัยไว้ได้ ส่วนพ่อขุนผาเมืองบุกเข้าตีทางด้านใต้เมืองสุโขทัย โดยยกผ่านเมืองบางขลง (สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณเมืองนครสวรรค์) ก็ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองราดอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก แต่คงไม่ใช่เมืองศรีเทพ เพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบไม่สอดคล้องกัน

ประวัติพ่อขุนรามคําแหง

30 มิ.ย.

                                             ประวัติพ่อขุนรามคําแหง                                                                           

          ในสมัยสุโขทัย  มีพระมหากษัตริย์ที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญอยู่หลายพระองค์ที่ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่า  ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและมีผลดีต่ออาณาจักรที่เราควรศึกษาในชั้นนี้  ได้แก่

     พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

          1.  พระราชประวัติ
               พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพระนางเสือง  ทรงมีพระนามเดิมว่า  ราม  พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3  ของอาณาจักรสุโขทัย  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1822  ต่อจากพ่อขุนบานเมือง  ซึ่งเป็นพระเชษฐา  (พี่ชาย)

          2.  วีรกรรมสำคัญ
               พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถในด้านการทำศึกสงครามตั้งแต่ยังไม่ได้ครองราชย์  ดังจะเห็นได้จากเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา  พระองค์ได้เสด็จตามพระราชบิดาไปทำสงครามแย่งชิงเมืองตากกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด  และรบชนะขุนสามชน  พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้ว่า  รามคำแหง

          3.  พระราชกรณียกิจ
               อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก  เนื่องมาจากพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ของพระองค์  ดังนี้
               1.  ด้านการเมืองการปกครอง  พระองค์ทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก  กล่าวคือ  พระองค์ทรงดูแลเอาใจใส่ในทุกข์สุขของราษฎร์เหมือนพระองค์เป็นพ่อ  ส่วนราษฎรหรือไพร่ฟ้าคือลูก  เมื่อราษฎรมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้มาสั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวัง  แล้วพระองค์ก็จะเสด็จออกมารับฟังเรื่องราว  เพื่อทรงตัดสินปัญหาด้วยพระองค์เอง
                    นอกจากนี้  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยสุโขทัย
               2.  ด้านเศรษฐกิจ  พระองค์ทรงโปรดให้สร้างทำนบกักเก็บน้ำที่เรียกว่า  ทำนบาพระร่วง  หรือสรีดภงค์  เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง  นอกจากนี้  พระองค์ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการค้าขายได้อย่างมีอิสระเสรี  ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่านจาการาษฎร  ที่เรียกว่า จกอบ  ทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง  และทรงโปรดให้สร้างเตาเผาเครื่องสังคโลกเป็นจำนวนมาก  เพื่อผลิตสินค้าออกไปขายยังดินแดนใกล้เคียง
               3.  ด้านศิลปวัฒนธรรม  พระองค์ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย  ที่เรียกว่า  ลายสือไทย  และได้มีการรพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน  ทำให้คนไทยมีอักษรไทยาใช้มาจนถึงทุกวันนี้  โดยโปรดให้จารึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ สมัยสุโขทัยลงบนศิลา  เมื่อ พ.ศ. 1826  เรียกว่า  ศิลาจารึกหลักที่ 1
                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นผู้นำในการสร้างศรัทธาให้ประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศานา  พระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  จากเมืองนครศรีธรรมราชที่กลับมาจากลังกา  มาเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาแก่ราษฎร  ซึ่งทำให้ชาวสุโขทัยเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและแสดงออกมาในรูปแบบศิลปกรรมด้านต่าง ๆ เช่น  การสร้างพระพุทธรูป  วัด  เจดีย์  เป็นต้น  ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย  จนกระทั่งกลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติพ่อขุนบางกลางหาว

30 มิ.ย.

 

 

 

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์.jpg

 

พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระบรมนามาภิไธย พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์ ไม่ทราบ
พระมเหสี พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางท่าว ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด

พระนาม
1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณราช
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช
สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง

พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า “ศรีอินทราทิตย์” เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระนางเสือง
นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า “…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย…”
คำว่า “พระขพุงผี” แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือ นางเสืองนั่นเอง
สาเหตุที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ(กษัตริย์)จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง
ทางจังหวัดจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี
ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย

แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

ประวัติศาสตร์ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย

ความเจริญของอาณาจักรน่านเจ้า
ตามบันทึกของจีนโบราณกล่าวไว้ว่า นอกจากน่านเจ้าจะเป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีประชากร หนาแน่นแล้ว ยังมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูง ทางด้านการปกครองได้จัดแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ กระทรวงว่าการทหาร กระทรวงจัดการสำมะโนครัว กระทรวงราชประเพณี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงโยธา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ มีเจ้าพนักงานสำหรับสอบคัดเลือกผู้เข้ารับราชการ กองทหารก็จัดเป็น หมู่ หมวด กองร้อย กองพัน มีธงประจำกอง ทหารแต่งกายด้วยเสื้อกางเกงทำด้วยหนังสัตว์ สวมหมวกสีแดงมียอด ถือโลห์หนังแรด มีหอกหรือขวานเป็นอาวุธ หากใครมีม้าก็เป็นทหารม้า ทรัพย์สินของรัฐมียุ้งฉางสำหรับเสบียงของหลวง มีโรงม้าหลวง มีการเก็บภาษีอากร มีการแบ่งปันที่นาให้ราษฎรตามส่วน อาชีพทั่วไปของราษฎรคือการเพาะปลูก เมื่อรู้จักปลูกฝ้ายก็มีการทอผ้า นอกจากนั้นก็มีอาชีพขุดทอง

ศาสนาประจำชาติ ส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน รวมทั้งนับถือศาสนาเดิมที่นับถือบรรพบุรุษ
การศึกษา ชนชาติไทยในสมัยน่านเจ้า มีภาษาใช้ประจำชาติโดยเฉพาะแล้ว แต่เรื่องของตัวหนังสือเรายังไม่สามารถทราบได้ว่ามีใช้หรือยัง
ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมสุวรรณภูมิก่อนที่ไทยจะอพยพมาอยู่
ชนชาติดั้งเดิม และมีความเจริญน้อยที่สุดก็คือพวก นิโกรอิด (Negroid) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ พวกเงาะ เช่น เซมัง ซาไก (Sakai) ปัจจุบันชนชาติเหล่านี้มีเหลืออยู่น้อยเต็มที แถวปักษ์ใต้อาจมีเหลืออยู่บ้าง ในเวลาต่อมาชนชาติที่มีอารยธรรมสูงกว่า เช่น มอญ ขอม ละว้า ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ขอม มีถิ่นฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมสุวรรณภูมิ ในบริเวณแม่น้ำโขงตอนใต้ และทะเลสาบเขมร
ลาวหรือละว้า มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดินแดนตอนกลางระหว่างขอมและมอญ
มอญ มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำอิรวดี
ทั้งสามชาตินี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมาก ตั้งแต่รูปร่าง หน้าตา ภาษา และขนบธรรมเนียมประเพณีสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นชนชาติเดียวกันมาแต่เดิม
อาณาจักรละว้า เมื่อประมาณ พ.ศ.700 ชนชาติละว้าซึ่งเข้าครอบครองถิ่นเจ้าพระยา ได้ตั้งอาณาจักรใหญ่ขึ้นสามอาณาจักรคือ
อาณาจักรทวาราวดี มีอาณาเขตประมาณตั้งแต่ราชบุรี ถึงพิษณุโลก มีนครปฐมเป็นเมืองหลวง
อาณาจักรโยนกหรือยาง เป็นอาณาจักรทางเหนือในเขตพื้นที่เชียงราย และเชียงแสน มีเงินยางเป็นเมืองหลวง
อาณาจักรโคตรบูรณ์ มีอาณาเขตตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุดรธานี มีนครพนมเป็นเมืองหลวง
อารยธรรมที่นำมาเผยแพร่ แหลมสุวรรณภูมิได้เป็นศูนย์กลางการค้าของจีน และอินเดียมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมผสมด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณนี้ เป็นเหตุดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาอาศัย และติดต่อค้าขาย นับตั้งแต่ พ.ศ.300 เป็นต้นมา ได้มีชาวอินเดียมาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ รวมทั้งพวกที่หนีภัยสงครามทางอินเดียตอนใต้ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้กรีฑาทัพไปตีแคว้นกลิงคราฎร์ ชาวพื้นเมืองอินเดียตอนใต้ จึงอพยพเข้ามาอยู่ที่พม่า ตลอดถึงพื้นที่ทั่วไปในแหลมมลายู และอินโดจีน อาศัยที่พวกเหล่านี้มีความเจริญอยู่แล้ว จึงได้นำเอาวิชาความรู้และความเจริญต่างๆ มาเผยแพร่ คือ
ศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมในทางอบรมจิตใจ ให้ความสว่างกระจ่างในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สันนิษฐานว่า พุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่เป็นครั้งแรกโดย พระโสณะ และพระอุตระ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
ศาสนาพราหมณ์ มีความเหมาะสมในด้านการปกครอง ซึ่งต้องการความศักดิ์สิทธิ์ และเด็ดขาด ศาสนานี้สอนให้เคารพในเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์
นิติศาสตร์ ได้แก่การปกครอง ได้วางแผนการปกครองหัวเมืองตลอดจนการตั้งมงคลนาม ถวายแก่พระมหากษัตริย์ และตั้งชื่อเมือง
อักษรศาสตร์ พวกอินเดียตอนใต้ได้นำเอาตัวอักษรคฤณฑ์เข้ามาเผยแพร่ ต่อมาภายหลังได้ดัดแปลงเป็นอักษรขอม และอักษรมอญ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย โดยดัดแปลงจากอักษรขอม เมื่อปี พ.ศ. 1823
ศิลปศาสตร์ ได้แก่ฝีมือในการก่อสร้าง แกะสลัก ก่อพระสถูปเจดีย์ และหล่อพระพุทธรูป

การแผ่อำนาจของขอมและพม่า
ประมาณปี พ.ศ.601 โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นชาวอินเดียได้สมรสกับนางพญาขอมและต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ครอบครองดินแดนของนางพญาขอม จัดการปกครองบ้านเมืองด้วยความเรียบร้อย ทำนุบำรุงกิจการทหาร ทำให้ขอมเจริญขึ้นตามลำดับ มีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปมากขึ้น ในที่สุดก็ได้ยกกำลังไปตีอาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่อยู่ทางเหนือของละว้าไว้ได้แล้วถือโอกาสเข้าตีอาณาจักรทวาราวดี
ต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ.1600 กษัตริย์พม่าผู้มีความสามารถองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าอโนธรามังช่อ ได้ยกกองทัพมาตีอาณาจักรมอญ เมื่อตีอาณาจักรมอญไว้ในอำนาจได้ แล้วก็ยกทัพล่วงเลยเข้ามาตีอาณาจักรทวาราวดีและมีอำนาจครอบครองตลอดไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำนาจของขอมก็สูญสิ้นไป แต่เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าอโนธรามังช่อ อำนาจของพม่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็พลอยเสื่อมโทรมดับสูญไปด้วย เพราะกษัตริย์พม่าสมัยหลังเสื่อมความสามารถ และมักแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้แว่นแคว้นต่างๆ ที่เคยเป็นเมืองขึ้น ตั้งตัวเป็นอิสระได้อีก ในระหว่างนี้ พวกไทยจากน่านเจ้า ได้อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อพม่าเสื่อมอำนาจลง คนไทยเหล่านี้ก็เริ่มจัดการปกครองกันเองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฝ่ายขอมนั้นเมื่อเห็นพม่าทอดทิ้งแดนละว้าเสียแล้ว ก็หวลกลับมาจัดการปกครองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอีกวาระหนึ่ง โดยอ้างสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของเดิม อย่างไรก็ตามอำนาจของขอมในเวลานั้นก็ซวดเซลงมากแล้วแต่เนื่องจากชาวไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ ขอมจึงบังคับให้ชาวไทยส่งส่วยให้ขอม พวกคนไทยที่อยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ไม่กล้าขัดขืน ยอมส่งส่วยให้แก่ขอมโดยดี จึงทำให้ขอมได้ใจ และเริ่มขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือ ในการนี้เข้าใจว่าบางครั้งอาจต้องใช้กำลังกองทัพเข้าปราบปราม บรรดาเมืองที่ขัดขืนไม่ยอมส่งส่วย ขอมจึงสามารถแผ่อำนาจขึ้นไปจนถึงแคว้นโยนก
ส่วนแคว้นโยนกนั้น ถือตนว่าไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของขอมมาก่อน จึงไม่ยอมส่งส่วยให้ตามที่ขอมบังคับ ขอมจึงใช้กำลังเข้าปราบปรามนครโยนกได้สำเร็จพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งโยนกลำดับที่ 43 ได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองเวียงสีทอง

แคว้นโยนกเชียงแสน (พ.ศ. 1661 – 1731)
ดังได้ทราบแล้วว่าโอรสของพระเจ้า พีล่อโก๊ะ องค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมเมืองที่อ่อนน้อมตั้งขึ้นเป็นแคว้น ชื่อโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนาทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้เสียทีแก่ขอมดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตามพระเจ้าพังคราชตกอับอยู่ไม่นานนัก ก็กลับเป็นเอกราชอีกครั้งหนึ่งด้วยพระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์น้อย คือ พระเจ้าพรหม ซึ่งมีอุปนิสัยเป็นนักรบ และมีความกล้าหาญ ได้สร้างสมกำลังผู้คน ฝึกหัดทหารจนชำนิชำนาญ แล้วคิดต่อสู้กับขอม ไม่ยอมส่งส่วยให้ขอม เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปราม ก็ตีกองทัพขอมแตกพ่ายกลับไปและยังได้แผ่อาณาเขตเลยเข้ามาในดินแดนขอม ได้ถึงเมืองเชลียง และตลอดถึงลานนา ลานช้าง แล้วอัญเชิญพระราชบิดา กลับไปครองโยนกนาคนครเดิม แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่าชัยบุรี ส่วนพระองค์เองนั้นลงมาสร้างเมืองใหม่ทางใต้ชื่อเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐา คือ เจ้าทุกขิตราช ดำรงตำแหน่งอุปราช นอกจากนั้นก็สร้างเมืองอื่นๆ เช่น เมืองชัยนารายณ์ นครพางคำ ให้เจ้านายองค์อื่นๆ ปกครอง
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราช ก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ก็ได้ครองเมืองชัยปราการต่อมา ในสมัยนั้นขอมกำลังเสื่อมอำนาจ จึงมิได้ยกกำลังมาปราบปราม ฝ่ายไทยนั้น แม้กำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ก็คงยังไม่มีกำลังมากพอที่จะแผ่ขยาย อาณาเขตลงมาทางใต้อีกได้ ดังนั้นอาณาเขตของไทยและขอมจึงประชิดกันเฉยอยู่
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพรหม กษัตริย์องค์ต่อๆ มาอ่อนแอและหย่อนความสามารถ ซึ่งมิใช่แต่ที่นครชัยปราการเท่านั้น ความเสื่อมได้เป็นไปอย่างทั่วถึงกันยังนครอื่นๆ เช่น ชัยบุรี ชัยนารายณ์ และนครพางคำ ดังนั้นในปี พ.ศ.1731 เมื่อมอญกรีฑาทัพใหญ่มารุกรานอาณาจักรขอมได้ชัยชนะแล้ว ก็ล่วงเลยเข้ามารุกรานอาณาจักรไทยเชียงแสน ขณะนั้นโอรสของพระเจ้าพรหม คือ พระเจ้าชัยศิริ ปกครองเมืองชัยปราการ ไม่สามารถต้านทานศึกมอญได้ จึงจำเป็นต้องเผาเมือง เพื่อมิให้พวกข้าศึกเข้าอาศัย แล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปปอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะ เพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงมาทางใต้จนถึงเมืองนครปฐมจึงได้พักอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น
ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่น ๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริ ซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฎว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมดแล้ว พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทองเพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ ดังนั้นพวกมอญจึงยกกองทัพกลับ เป็นเหตุให้แว่นแคว้นนี้ว่างเปล่า ขาดผู้ปกครองอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่ง
ในระหว่างที่ฝ่ายไทย กำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอุปราชอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครองแคว้นโยนก แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยให้แก่ขอม ความพินาศของแคว้นโยนกครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพแยกย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปปดังกล่าวแล้ว ส่วนสายพวกชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสมเพราะเป็นเมืองใหญ่และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในชั้นแรกที่เข้ามาตั้งอยู่นั้น ก็คงต้องยอมขึ้นอยู่กับขอม ซึ่งขณะนั้นยังมีอำนาจอยู่
ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรลานนาหรือโยนกนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ แล้วก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในระยะต่อมาชาวไทยที่ค้างการอพยพ อยู่ในเขตนั้นก็ได้รวมตัวกัน ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน บรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นที่นับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ลงมาทางใต้ ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัยที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นที่นิยมของชาวไทยมากกว่าพวกอื่น จึงได้รับยกย่องขึ้นเป็นพ่อเมือง ที่ตั้งของเมืองนครไทยนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองบางยาง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น และเจ้าเมืองมีฐานะเป็นพ่อขุน
เมื่อบรรดาชาวไทย เกิดความคิดที่จะสลัดแอก ของขอมครั้งนี้ บุคคลสำคัญในการนี้ก็คือ พ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดได้ร่วมกำลังกันยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปีพ.ศ.1800 การมีชัยชนะของฝ่ายไทยในครั้งนั้น นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้น แห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยและเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม เพราะนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา ขอมก็เสื่อมอำนาจลงทุกที จนในที่สุดก็สิ้นอำนาจไปจากดินแดนละว้าแต่ยังคงมีอำนาจปกครองเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนใต้อยู่

ประวัติผู้ปกครองกรุงสุโขทัย

ประวัติผู้ปกครองกรุงสุโขทัย
ประวัติกรุงสุโขทัย
กรุงสุโขทัยได้ถือกำเนิดขึ้นโดยได้มีผู้นำคนไทย ๒ คน คือ พ่อขุนบางกลางท่าว และ พ่อขุนผาเมือง ได้นำคนไทยเข้าต่อสู้กับขอมหลังจากที่คนไทยได้ถูกขอมครองเอาไว้ จนในที่สุดขอมก็ได้ยอมแพ้ และพ่อขุนบางกลางท่าวก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และได้ตั้งกรุงสุโขทัยขึ้น นับตั้งแต่นั้นมา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ท่านได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับกรุงสุโขทัยโดยการรวบรวมอาณาจักรต่างๆ เข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นอาณาจักรสุโขทัย

ในช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชย์อยู่นั้น ท่านก็ได้ใช้ระบบการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก จนทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีความรุ่งเรืองมากขึ้น ช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดอยู่ในช่วงของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ท่านได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยจนกว้างมาก และทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้อีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว พระเจ้าเลอไท พระราชโอรสได้ครองราชสมบัติ

ต่อมา พระยาลือไท ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเลอไท พระราชบิดา ทรงมีพระนามว่า “พระมหาธรรมราชาลิไทย” ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ต่อมา ท่านได้เปลี่ยนระบบการปกครองจาก พ่อปกครองลูก เป็น ธรรมราชา เนื่องจากพระมหาธรรมราชาลิไทยท่านมีความเลื่อมใสทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และยังทรงออกผนวชระหว่างครองราชย์อีกด้วย แต่ก็ทำให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้ได้ ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงตั้งแข็งเมืองและประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นตรงต่อสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓ เป็นต้นมา นั่นก็คือกรุงศรีอยุธยา ขุนหลวงพะงั่ว เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอู่ทอง และได้ส่งกองทัพมาทำสงครามตีเมืองต่าง ๆ เป็นระยะเวลา ๗ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๒๑ แต่ไม่สามารถตีหักเข้าเมืองได้จนกระทั่ง พระเจ้าไสยลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๒) ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ซึ่งพระเจ้าไสยลือไท เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงั่วไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่า “ถ้าหากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงั่วไม่ได้” จึงทรงยอมอ่อนน้อมต่อขุนหลวงพะงั่วโดยดี และนับแต่นั้นมา กรุงสุโขทัยก็สูญเสียเอกราช กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา

รัชกาลที่ 1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เริ่มครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1792

ในระยะเริ่มต้นอาณาจักร ในสมัยนั้นมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนักเมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอิสระจากขอม เจ้าเมืองต่างๆในดินแดนใกล้เคียงจึงอ่อนน้อมรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอำนาจเข้มแข็งพอ ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย จึงมีการทำสงครามขึ้น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพไปปราบเจ้าเมืองฉอด เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก มีอายุ 19 ปี เข้าชนช้างกับเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหง
พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร

พระราชกรณียกิจ
พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลาวหาวได้ร่วมกับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ โดยคำว่า “บดินทร” หายออกไป เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้ เป็น บดีแห่งอินทรปัต คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร (เมืองอินทรปัต) อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า “หนีญญ่ายพ่ายจแจ” ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ และไม่ได้เป็นผู้สถาปนารัฐสุโขทัยรัชกาลที่ 2 พ่อขุนบานเมือง
สวรรคตประมาณ พ.ศ. 1822

พ่อขุนบานเมือง ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง และเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราชในพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสวยราชสมบัติในอาณาจักรสุโขทัยหลังจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตประมาณประมาณ1822 และครองราชย์อยู่จนถึง พ.ศ. 1822
พ่อขุนบานเมืองได้ทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ โดยมีสมเด็จพระอนุชาธิราช (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เป็นแม่ทัพ ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “กูไป่ท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายเวนยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู” หมายความว่าเมื่อพระรามคำแหงยกทัพไปตีเมืองอื่นจนได้ชัยชนะ ก็นำช้าง ผู้คน ทรัพย์สินเงินทอง มาถวายแด่พระราชบิดา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็กระทำอย่างเดียวกันกับพ่อขุนบานเมือง

รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง
ประมาณ พ.ศ. 1822-1841

กรุงสุโขทัยโดยการปกครองของพ่อขุนรามคำแหง มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปจากเดิมมาก เพราะเป็นกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็งด้านการปกครองและใกล้ชิดราษฎร ไพร่ฟ้าประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีการนำระบบชลประทานมาใช้ทางการเกษตรทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้น มีการค้าขายกับต่างประเทศ เศรษฐกิจและการเมืองมั่นคง ขยายอำนาจและอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จนได้รับการเทิดพระเกียรติว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระองค์ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเชี่ยวชาญด้านการศึกสงคราม จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่นๆเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีหลายเมืองยอมอ่อนน้อม ทำให้มีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปกว้างขวางมากดังนี้
ทิศเหนือ มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองแพร่ น่าน
ทิศใต้ มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร )
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองสระหลวง สองแคว
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตครอบถึงเมืองฉอด ทวาย
เมืองใดที่มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือยอมอ่อนน้อมโดยดีแล้ว จะทรงช่วยเหลืออุปการะพระราชทานของกินของใช้และไพร่พลบริวาร ทรงใช้หลักธรรมในการปกครองเพื่อให้ประชาชนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 ทำให้คนไทยมีตัวหนังสือประจำชาติ มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรม ทรงทำนุบำรุงศาสนาพุทธสืบต่อ รัชกาลก่อนโดยนิมนต์พระภิกษุที่เคร่งครัดในทางพระธรรมวินัยและพระปรมัตถ์จากเมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สั่งสอน ทรงเป็นผู้นำสร้างชาติให้มั่นคงเป็นแบบอย่างต่อมาคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ด้วยความใกล้ชิด ผู้ใดเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือให้ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูวัง จะเสด็จออกมารับเรื่องร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง จึงทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข ทรงให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนหัวเมืองตามโอกาสเป็นต้นว่ายกพระราชธิดาให้ มะกะโท ( พระเจ้าฟ้ารั่ว ) ผู้นำอาณาจักรขอมซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์

การทหาร
ความเป็นนักรบของพระองค์นั้น เห็นได้ตั้งแต่ยังมิได้ครองราชย์ พระองค์ทรงได้รับชนะในการกระทำ ยุทธหัตถี กับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดา และทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามขยายอาณาเขตตลอดรัชสมัยของพระบิดา และพ่อขุนบานเมือง

การเมือง
พระองค์ทรงมีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชน โดยการสนับสนุนการประกอบอาชีพอย่างเสรี ทรงยกเลิกจังกอบ ซึ่งเป็นภาษีที่คิดตามความกว้างของเรือ ให้กรรมสิทธิที่ดินทำกิน ตลอดจนเสรีภาพให้แก่ราษฎร

การทูต
พระองค์มีนโยบายกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆทั้งที่ใกล้เคียง และแม้แต่ดินแดนอันห่างไกลที่มีอำนาจ เช่น ล้านนา พะเยา ศิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราช) ตลอดจนถึงจีน นอกจากนี้ยังปรากฏทรงให้ความช่วยเหลือสนับสนุนรัฐที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วย เช่น มอญ และล้านช้างเป็นต้น

การศาสนาและปรัชญา
พระองค์นั้นทรงเห็นความสำคัญของพระศาสนา พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และสนับสนุนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังปรากฏว่า พระองค์ทรงนิมนต์พระเถระจากเมืองศิริธรรมนคร มาสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในสุโขทัย ทรงจัดสร้างพระอารามทั้งในและนอกราชธานี รวมทั้งทรงสนับสนุนการเผยแผ่หลักธรรมและการสร้างศาสนวัตถุอีกด้วย นอกจากพระราชกรณียกิจทางด้านพระศาสนาแล้วยังมีความสำคัญเช่นกันคือ ทรงส่งเสริมความเจริญทางภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือ การประดิษฐ์อักษรไทย หรือ ลายสือไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการประดิษฐ์ลายสือไทย จนถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของพระองค์อีกด้วย และเนื่องจากพระองค์ทรงทำคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ปวงชนชาวไทย จึงยกย่องให้พระองค์ทรงเป็น “มหาราช” พระองค์แรกแห่งประวัติศาสตร์ไทย

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระปรมาภิไธย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
พระราชบิดา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระราชมารดา พระนางเสือง

การครองราชย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง

ทรงราชย์ พ.ศ. 1822 – พ.ศ. 1860 (โดยประมาณ)
ระยะเวลาครองราชย์ 40 ปี (โดยประมาณ)
รัชกาลก่อนหน้า พ่อขุนบานเมือง

รัชกาลถัดมา พญาไสสงคราม